ความเข้มข้นของโลหะหนักในบรรจุภัณฑ์พลาสติก และความสามารถในการปลดปล่อยโลหะหนักจากอนุภาคไมโครพลาสติกของบรรจุภัณฑ์พลาสติกในน้ำทะเลสังเคราะห์
Abstract
งานวิจัยนี้ทำการตรวจวัดความเข้มข้นของโลหะหนักที่เป็นพิษ (สังกะสี ตะกั่ว โครเมียม ทองแดง และแคดเมียม) ในไมโครพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติก 7 ประเภท ได้แก่ ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว ขวดน้ำ หลอดพลาสติก ฝาขวดน้ำ โฟม และฟิล์มห่ออาหาร ด้วยเครื่องอะตอมมิกแอปซอบชั่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างไมโครพลาสติกทุกชนิดมีค่าสังกะสี เท่ากับ 0.21, 0.24, 0.78, 0.16, 0.24, 3.25 และ 2.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบโครเมียม (0.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ตะกั่ว (0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และทองแดง (0.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ทองแดง (0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และแคดเมียม (0.10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ทองแดง (0.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และแคดเมียม (0.11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในหลอดพลาสติก ฝาขวดน้ำ โฟม และฟิล์มห่ออาหาร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาตัวอย่างไมโครพลาสติกทั้งหมดที่ถูกแช่ในน้ำทะเลสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนโลหะหนักในช่วงความเข้มข้น 0.3 - 6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 7 วัน ผลการวิจัยพบว่า ไมโครพลาสติกทุกประเภทไม่ดูดซับโลหะหนักในน้ำทะเลแต่ปลดปล่อยโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในพลาสติก ดังนั้น ไมโครพลาสติกจากขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกอาจส่งผลกระทบต่อมลพิษด้านโลหะหนักในน้ำทะเลคำสำคัญ: ไมโครพลาสติก การดูดซับ การปลดปล่อยToxic heavy metals (Zn, Pb, Cr, Cu and Cd) concentration in microplastic from 7 types of plastic food containers (cooler food bag, T-shirt bags, water bottle, plastic tube, water bottle cap, foam and film wrapped) were determined. by an Atomic Absorption Spectrophotometer. The results revealed that all samples of microplastic contained Zn at 0.21, 0.24, 0.78, 0.16, 0.24, 3.25 and 2.24 mg/kg, respectively. Moreover, Cr (0.07 mg/kg), Pb (0.01 mg/kg) and Cu (0.15 mg/kg), Cu (0.05 mg/kg) and Cd (0.10 mg/kg), Cu (0.21 mg/kg) and Cd (0.11 mg/kg) were determined in plastic tube, water bottle cap, foam and film wrapped, respectively. Furthermore, all microplastic samples were immersed in synthetic marine water with heavy metals concentration in the range 0.3 - 6.0 mg/L for 7 days. The results found that all types of microplastic did not adsorb heavy metals from marine water inside they released the heavy metals which contained in the products to the environment. The results obtained indicated that microplastic from plastic food container wastes could cause heavy metals pollution in marine water.Keywords: Microplastic, Adsorption, ReleasingDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-30
How to Cite
โทบุดดี ไ., ตังคณานุรักษ์ ค., วาระรัมย์ ว., & สิริวิทยาปกรณ์ ส. (2021). ความเข้มข้นของโลหะหนักในบรรจุภัณฑ์พลาสติก และความสามารถในการปลดปล่อยโลหะหนักจากอนุภาคไมโครพลาสติกของบรรจุภัณฑ์พลาสติกในน้ำทะเลสังเคราะห์. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(25, January-June), 149–161. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13961
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.