การใช้ประโยชน์กากตะกอนน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุผสมในอิฐมอญ (THE USE OF WASTEWATER SLUDGE FROM A CASSAVA STARCH PLANT AS BRICK MATERIAL)

Authors

  • ปิยะวดี ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยพะเยา University of Phayao.
  • เสกสรรค์ ทองติ๊บ มหาวิทยาลัยพะเยา University of Phayao.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนยูเอเอสบี (Up-Flow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) ของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปรเพื่อใช้เป็นวัสดุผสมในการผลิตอิฐมอญ เบื้องต้นทำการศึกษาลักษณะสมบัติของกากตะกอนเทียบกับมาตรฐานปริมาณสารเคมีอันตรายในของเสียที่ไม่ใช้แล้ว (Total Threshold Limit Concentration, TTLC) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 พบว่ามีค่าต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด ดังนั้นกากตะกอนที่นำมาใช้จึงไม่ใช่ของเสียอันตรายสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐมอญได้ และพบว่าการใช้อัตราส่วนกากตะกอน 10% โดยน้ำหนักแห้งมีความเหมาะสม ซึ่งอิฐมอญที่ผลิตได้ มีอัตราการซึมน้ำต่ำเท่ากับ 22.6±1.5% และมีความสามารถในการต้านแรงอัดสูงเท่ากับ 9.6±1.6 เมกะปาสกาล ผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 77-2545 ในขณะที่การเพิ่มอัตราส่วนกากตะกอนเพิ่มขึ้นส่งผลให้อิฐมีความแข็งแรงลดลง โดยมีอัตราการซึมน้ำมากขึ้น และความสามารถในการต้านแรงอัดลดลง จากผลการวิจัยจึงแสดงให้เห็นว่ากากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบยูเอเอสบีสามารถใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐมอญได้ โดยการนำมาใช้เป็นการเพิ่มมูลค่าของกากตะกอนและช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการจัดการกากตะกอนที่ไม่มีประสิทธิภาพคำสำคัญ: อิฐมอญ  แป้งมันสำปะหลังดัดแปร  ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนยูเอเอสบี  กากตะกอนThe aim of this research was to determine the optimum mixing ratio of UASB (Up-flow anaerobic sludge blanket, UASB) sludge from a modified cassava starch plant as a material in the fried clay brick production. The amounts of hazardous chemicals were initial studied that their level were lower than The Total Threshold Limit Concentration (TTLC) (The Notification of The Ministry of Industry on Disposal of Wastes or Unusable Materials B.E. 2548 (2005). Therefore, the UASB sludge is not hazardous waste that it can be used as material to produce brick. And it was found that at the sludge content of 10% by dry weight basis were appropriate. It had the low water adsorption rate and high compressive strength at 22.6±1.5% and 9.6±1.6 MPa, respectively, which according to Thailand Industrial Standard (TIS 77-2545). When the increase in the percentage of sludge added, that resulted in the decreased strength of the produced brick with the higher water adsorption rates and the less compressive strength. The results indicated that the UASB sludge was suitable to use as a material in the brick production. Moreover, it is a method to adding value of sludge and reducing the environmental impacts from ineffective disposal management.Keywords: Fried clay brick, Modified cassava starch, Up-flow anaerobic sludge blanket, Sludge

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ปิยะวดี ศรีวิชัย, มหาวิทยาลัยพะเยา University of Phayao.

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาProgram in Environmental Health, Faculty of Medicine, University of Phayao.

เสกสรรค์ ทองติ๊บ, มหาวิทยาลัยพะเยา University of Phayao.

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาProgram in Occupational Health and Safety, Faculty of Medicine, University of Phayao.

Downloads

Published

2021-06-30

How to Cite

ศรีวิชัย ป., & ทองติ๊บ เ. (2021). การใช้ประโยชน์กากตะกอนน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุผสมในอิฐมอญ (THE USE OF WASTEWATER SLUDGE FROM A CASSAVA STARCH PLANT AS BRICK MATERIAL). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(25, January-June), 86–96. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13699