ขั้นตอนวิธีสำหรับการสร้างสมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง โดยใช้เทคนิคการค้นหาเส้นทางในแนวลึก (AN ALGORITHM FOR GENERATING DIRECTIONAL RESEARCH HYPOTHESIS USING DEPTH-FIRST SEARCH TECHNIQUE)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบขั้นตอนวิธีสำหรับการสร้างสมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง โดยใช้เทคนิคการค้นหาเส้นทางในแนวลึก (Algorithm for Generating Directional Research Hypothesis Using Depth-First Search Technique) ที่เรียกชื่อย่อว่า GHyp ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาจาวาสคริปต์ และเพื่อประเมินคุณภาพของขั้นตอนวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการของการคิดเชิงระบบ 2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 3) วิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธี 4) พัฒนาและทดสอบขั้นตอนวิธี และ 5) ประเมินคุณภาพของขั้นตอนวิธี ผลการพัฒนาและทดสอบขั้นตอนวิธีที่นำเสนอ พบว่า ขั้นตอนวิธี GHyp สามารถแสดงสมมติฐานแบบมีทิศทางของทุก ๆ แผนผังเหตุ-ผล ได้ถูกต้องตามผลลัพธ์ที่คาดหวัง นอกจากนี้ผลการประเมินคุณภาพของขั้นตอนวิธี GHyp โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อขั้นตอนวิธี GHyp ทุกรายการ มีค่าเท่ากับ 0.97 สรุปได้ว่า ขั้นตอนวิธี GHyp ใช้ได้ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบเครื่องมือสนับสนุนการคิดเชิงระบบสำหรับสร้างสมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทางเพื่อใช้เป็นกรอบการทำวิจัยที่ชัดเจน เป็นผลให้ผู้ใช้มีทักษะการคิดอย่างมีระบบและมีทักษะการสร้างสมมติฐานอย่างมีเหตุมีผลที่ดียิ่งขึ้น คำสำคัญ: สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง การคิดเชิงระบบ การค้นหาเส้นทางในแนวลึก The objectives of this research were to develop an algorithm for generating directional research hypothesis using depth-first search technique, named as GHyp which was developed by JavaScript language. This research consisted of five processes that were 1) studied and reviewed the concept of system thinking and related works 2) collected and analyzed information 3) analyzed and designed GHyp 4) developed and tested GHyp, and 5) evaluated the quality of the proposed algorithm. The results of this research found that the GHyp algorithm could correctly generate of all directional research hypothesis according to the expected results. Moreover, the quality of GHyp algorithm assessed by experts found that the Index of the item-objective congruence of expert opinion analysis on every GHyp algorithms was equal to 0.97. Conclusively, GHyp could be practical and could be used as the tool for generating directional research hypothesis, including used as the obvious conceptual research framework. As a result, users had more systematic thinking skills and more hypothesis-building skills. Keywords: Directional research hypothesis, System thinking, Depth-first searchDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-12-31
How to Cite
หิรัญพงศ์สิน ส., & สิงห์งาม จ. (2020). ขั้นตอนวิธีสำหรับการสร้างสมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง โดยใช้เทคนิคการค้นหาเส้นทางในแนวลึก (AN ALGORITHM FOR GENERATING DIRECTIONAL RESEARCH HYPOTHESIS USING DEPTH-FIRST SEARCH TECHNIQUE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 183–197. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13170
Issue
Section
บทความวิจัย