ยูวีวิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมทรีสำหรับตรวจวัดไอออนโลหะประจุ +2 โดยใช้คัฟเฟอรอน (UV-VISBLE SPECTROPHOTOMETRY FOR DETERMINATION OF 2 CHARGED METAL IONS USING CUPFERRON)

Authors

  • อลงกรณ์ อยู่สำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Rajamangala University of Technology Krungthep.
  • อรทัย ศรีพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Rajamangala University of Technology Krungthep.
  • อาราตรี โคสะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Rajamangala University of Technology Krungthep.

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ไอออนโลหะประจุ +2 ด้วยเทคนิคยูวีวิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมทรี โดยอาศัยการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่าง Cupferron กับไอออนโลหะประกอบด้วย ไอออนทองแดง ไอออนตะกั่ว ไอออนสังกะสี และไอออนแคดเมียม จากการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ คือ อัตราส่วนโดยโมลระหว่างลิแกนด์กับไอออนโลหะที่ 1:1 pH ที่ 4.0 ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ ระยะเวลาในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน 10 นาที ช่วงความยาวคลื่น 200-500 นาโนเมตร ที่สภาวะดังกล่าวไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ไอออนแคดเมียมได้ ขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถตรวจวัด (LOD) ของไอออนทองแดง ไอออนตะกั่ว และไอออนสังกะสี เท่ากับ 0.03, 0.02 และ 0.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ปริมาณได้ (LOQ) เท่ากับ 0.12, 0.10 และ 0.07 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ร้อยละการคืนกลับเท่ากับร้อยละ 100.31, 98.09 และ 103.43 ตามลำดับ และความแม่นยำ (%RSD) เท่ากับร้อยละ 8.54, 6.78 และ 8.25 ตามลำดับคำสำคัญ: ไอออนโลหะ  ยูวีวิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมทรี  คัฟเฟอรอนThe indirect determinations of metal ions with +2 charge using UV-Vis spectrophotometric method were studied via the chelating with cupferron. The complexation between metals ions (Cu2+, Pb2+, Zn2+ and Cd2+) and cupferron were formed in this work. The mole ratio between ligand and metal ions for 1:1 was found to be optimal at pH 4.4 of phosphate buffer. The duration time of complexation as 10 min was suitable to form a chelating compound.  The wavelength between 200-500 nm was used for determination of metal ions except for Cd2+ that could not be detected. The limit of detection (LOD) were found as 0.03 , 0.02 and 0.01 mg/L for Cu2+, Pb2+ and Zn2+, respectively. The limit of quantitation (LOQ) for Cu2+, Pb2+ and Zn2+ were presented serially in 0.12, 0.10 and 0.07 mg/L. The recovery of Cu2+, Pb2+ and Zn2+ were 100.31, 98.09 and 103.43%, respectively. The precision in term of %RSD were found respectively as 8.54, 6.78 and 8.25 for Cu2+, Pb2+ and Zn2+.Keywords: Metal Ions, UV-Visible Spectrophotometry, Cupferron

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อลงกรณ์ อยู่สำราญ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Rajamangala University of Technology Krungthep.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพFaculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Krungthep.

อรทัย ศรีพันธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Rajamangala University of Technology Krungthep.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพFaculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Krungthep.

อาราตรี โคสะ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ Rajamangala University of Technology Krungthep.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพFaculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Krungthep.

Downloads

Published

2019-12-28

How to Cite

อยู่สำราญ อ., ศรีพันธ์ อ., & โคสะ อ. (2019). ยูวีวิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมทรีสำหรับตรวจวัดไอออนโลหะประจุ +2 โดยใช้คัฟเฟอรอน (UV-VISBLE SPECTROPHOTOMETRY FOR DETERMINATION OF 2 CHARGED METAL IONS USING CUPFERRON). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(22, July-December), 201–210. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/12127