ความต้านทานการสึกเหตุวัตถุ 2 ชนิด ของวัสดุบูรณะฟันที่ขึ้นรูปด้วยแคดแคมเมื่อสบกับเคลือบฟัน (TWO-BODY WEAR RESISTANCE OF DENTAL CAD/CAM RESTORATIVE MATERIALS AND OPPOSING ENAMEL)

Authors

  • วีร์ศิริ สกุลรัตนะ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ Bhumibol Adulyadej Hospital, Directorate of Medical services, R.T.A.F.
  • ภาวิณีย์ ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

บทนำ: ปัจจุบันการขึ้นรูปวัสดุบูรณะฟันด้วยแคดแคมได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากชิ้นงานบูรณะที่ได้มีความแข็งแรงสวยงามและมีต้นทุนการผลิตต่ำ นอกจากนี้ในปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความต้องการงานบูรณะที่มีความสวยงามแต่ใช้เวลาในการรักษาสั้น จึงทำให้การบูรณะฟันด้วยเซรามิกทั้งซี่ซึ่งขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเทคโนโลยีแคดแคม ได้รับความนิยมมากขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาการสึกของวัสดุสำหรับการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีแคดแคมประเภทต่างๆ เมื่อสบกับเคลือบฟันธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้เป็นแนวทางสำหรับการเลือกใช้วัสดุประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาวะในช่องปากของผู้ป่วยวัสดุและวิธีการ: ทำการเตรียมชิ้นทดสอบ จำนวน 12 ชิ้น จากวัสดุ 6 ประเภท คือ เฟลด์สปาร์ติกเซรามิก (Vita MarkII) เซอร์โคเนียเซรามิก (Incoris TZi Zirconia) กลาสเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกต (Emax) กลาสเซรามิกชนิดลิเทียมซิลิเกตเสริมความแข็งแรงด้วยเซอร์โคเนีย (Celtra Duo) ไฮบริดเซรามิก (Vita Enamic) และเซอร์ โคเนียมซิลิเกตไฮบริดเซรามิก (Shofu) โดยเตรียมเป็นรูปทรงกระบอกชนิดละ 2 ชิ้น เพื่อทำการทดสอบการสึกกับชิ้นเคลือบฟัน ซึ่งเตรียมจากฟันกรามน้อยแท้ของมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือศึกษาการสึกกร่อนแบบพินออนดิสก์ ที่น้ำหนักคงที่ 20 นิวตัน ความเร็ว 100 รอบต่อนาที วัดปริมาตรการสึก (Volume Loss) โดยใช้เครื่องโปร์ไฟโลมิเตอร์ เพื่อประเมินการสึกในเชิงปริมาณของผิวเคลือบฟัน และใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron Microscope) ประเมินลักษณะการสึกในเชิงคุณภาพของผิวเคลือบฟันและวัสดุบูรณะฟันผลการศึกษา: วัสดุบูรณะฟันที่ขึ้นรูปด้วยแคดแคมประเภทไฮบริดเซรามิก มีปริมาตรการสึกสูงที่สุดในวัสดุ 6 ประเภท และพบว่าวัสดุบูรณะด้วยแคดแคมประเภทกลาสเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตเสริมความแข็งแรงด้วยเซอร์โคเนีย วัสดุเซอร์โคเนียเซรามิก กลาสเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกต มีค่าปริมาตรการสึกต่ำกว่าวัสดุประเภทเซอร์โคเนียมซิลิเกตไฮบริดเซรามิก ไฮบริดเซรามิก และเฟลด์สปาร์ติกเซรามิกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนของเคลือบฟันที่สบกับวัสดุประเภทเซอร์โคเนียมซิลิเกตไฮบริดเซรามิก ไฮบริดเซรามิก และเฟลด์สปาร์ติกเซรามิก มีปริมาตรการสึกต่ำกว่าแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเคลือบฟันที่สบกับวัสดุประเภทกลาสเซรามิกชนิดลิเทียมซิลิเกตเสริมความแข็งแรงด้วยเซอร์โคเนีย วัสดุเซอร์โคเนียเซรามิก และกลาสเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตคำสำคัญ: ความต้านทานการสึก  แคดแคม เซรามิกทางทันตกรรม  ปริมาตรการสึกIntroduction:  Dental ceramics are known for their excellent chemical and optical properties. The wear of human enamel and of the restorative material is often a vital and esthetical concern when selecting a restorative material for any given clinical restorative treatment. The aim of this study was to determine the two-body wear resistance of dental CAD/CAM restorative materials and the opposing enamel in-vitro.Material and Method: Twelve test specimens were fabricated from 6 types of CAD/CAM ceramic, Feldspathic ceramic (Vita MarkII), Zirconia ceramic (Incoris TZi zirconia), Lithium disilicate glass -ceramics (Emax), zirconia-reinforced lithium silicate (Celtra Duo), Hybrid ceramic (Vita Enamic) and zirconium silicate hybrid ceramic (Shofu HC), with a dimension of 2 x 2 x 5 mm for pin specimens. Enamel specimens (n =12) were prepared from the extracted human premolar teeth. Using a pin-on-disc wear tester, wear test between CAD/CAM restorative materials and enamel was performed under a constant load of 20 N, at 100 rpm for 4,000 cycles. Volume loss of enamel and CAD/CAM restorative material specimens was measured with a profilometer. Qualitative characterization of wear patterns of all test materials and enamel specimens were evaluated using scanning electron microscopy.Result: The highest volume loss was found on Hybrid ceramic. Zirconia-reinforced lithium silicate, Zirconia ceramic and Lithium disilicate glass-ceramics have significantly less volume loss than Zirconium silicate hybrid ceramic, Hybrid ceramic and Feldspathic ceramic (p < 0.05). The wear on enamel was found lower against zirconia silicate hybrid ceramic, Hybrid ceramic and Feldspathic ceramic, but the results were not significant (p > 0.05).keywords: Wear Resistance, CAD/CAM, Dental Ceramic, Volume Loss

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วีร์ศิริ สกุลรัตนะ, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ Bhumibol Adulyadej Hospital, Directorate of Medical services, R.T.A.F.

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศBhumibol Adulyadej Hospital, Directorate of Medical services, R.T.A.F.

ภาวิณีย์ ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of General Dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-12-28

How to Cite

สกุลรัตนะ ว., & ดิดรอน ภ. ป. (2019). ความต้านทานการสึกเหตุวัตถุ 2 ชนิด ของวัสดุบูรณะฟันที่ขึ้นรูปด้วยแคดแคมเมื่อสบกับเคลือบฟัน (TWO-BODY WEAR RESISTANCE OF DENTAL CAD/CAM RESTORATIVE MATERIALS AND OPPOSING ENAMEL). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(22, July-December), 186–200. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/12126