การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยต่างกันร่วมกับซีโอไลต์ 4 เอ (REDUCTION OF GREENHOUSE GAS EMISSIONS FROM DIFFERENT FERTILIZER USES WITH ZEOLITE 4A)
Abstract
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยตัวดูดซับชนิดซีโอไลต์ 4 เอ โดยศึกษาในแปลงทดลอง 4 แปลง ที่มีวิธีการใส่ปุ๋ยต่างกัน ได้แก่ กรรมวิธีควบคุมที่ไม่มีการเติมปุ๋ย กรรมวิธีที่มีการเติมปุ๋ยเคมีเพียงครั้งเดียว กรรมวิธีที่มีการเติมปุ๋ยเคมีจำนวน 2 ครั้ง และกรรมวิธีที่มีการเติมปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าเพียงครั้งเดียว และแต่ละกรรมวิธีแบ่งออกเป็น กรรมวิธีที่เติมซีโอไลต์ 4 เอ ในอัตราส่วนซีโอไลต์ต่อปุ๋ยเป็น 3:1 และกรรมวิธีที่ไม่เติมซีโอไลต์ โดยทำการปลูกข้าวพันธุ์ กข. 41 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ในพื้นที่สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ปุ๋ยเคมีที่ใช้ คือ 16-20-0 และ 46-0-0 ที่อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยทำการใส่ปุ๋ยหลังหว่านข้าว 20 วัน และ 60 วัน ผลการทดลองพบว่า การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้ง 4 กรรมวิธีมีความแตกต่างกัน โดยซีโอไลต์ 4 เอ สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ซึ่งมีอัตราการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อซีโอไลต์ในช่วง 0.97-35.49 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตารางเมตรต่อกรัมซีโอไลต์ ซึ่งกรรมวิธีที่เติมปุ๋ยเคมีเพียงครั้งเดียว มีร้อยละ และอัตราการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด แต่กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ละลายช้า มีร้อยละและอัตราการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำที่สุด เนื่องจากซีโอไลต์มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออน จึงดูดซับแร่ธาตุไว้ในช่องว่างของซีโอไลต์ได้ ซึ่งเป็นการดูดซับโดยใช้วิธีทางเคมี และลักษณะพิเศษของซีโอไลต์คือ มีโครงสร้างที่มีความเป็นรูพรุน จึงมีช่องว่างในการดูดซับก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วย ดังนั้นซีโอไลต์ที่เติมลงในกรรมวิธีเหล่านี้จึงทำหน้าที่ทั้งตัวดูดซับแร่ธาตุ และดูดซับก๊าซไปด้วยกัน ประสิทธิภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงขึ้นกับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกคำสำคัญ: ก๊าซเรือนกระจก ซีโอไลต์ อัตราการลดการปลดปล่อย การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกThe objective of this investigation aims to study the feasibility of reducing greenhouse gas (GHG) emission with zeolite 4A. The experiment was designed in 4 main plots with different fertilizer application methods such as (I) control plot with no fertilizer added, (II) a single chemical fertilizer added plot, (III) two times of chemical fertilizers added plot and (IV) slow released chemical organic fertilizer added plot. Subplots were as zeolite 4A added in 3:1 ratio of zeolite and fertilizer and no zeolite added. RD 41 rice variety was cultivated at the rate of 25 kg/rai in Lam Ta Khong research station, Nakhon Ratchasima. The chemical fertilizers used were 16-20-0 and 46-0-0 at a rate of 50 kg/rai after sowing 20 days and 60 days. The experimental results showed that the GHG emission of 4 main plots were significantly different. It demonstrated that zeolite 4A could reduce the GHG emission. The reduction rate of GHG emission per zeolite was in the range of 0.97-35.49 gCO2 equivalents/m2-g zeolite. A single chemical fertilizer added plot had the highest percentages of reducing GHG emission, but the slow released chemical organic fertilizer added plot had the lowest percentage of reducing GHG emission. Zeolites have highly the cation exchange capability, so it absorbs minerals in its pore by chemical adsorption. Besides, the structure of the zeolite is highly porous. It can absorb methane and carbon dioxide gas in its gap. Therefore, zeolite serves as both a mineral adsorbent and gas absorber. It concluded that the reduction efficiency of GHG emission depended on both the amount of fertilizer used and GHG emissions.Keywords: Greenhouse Gas, Zeolite, Reduction Rate Of Emission, GHG EmissionDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-28
How to Cite
นาถพินิจ พ., & ดิษฐ์แก้ว ฐ. (2019). การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยต่างกันร่วมกับซีโอไลต์ 4 เอ (REDUCTION OF GREENHOUSE GAS EMISSIONS FROM DIFFERENT FERTILIZER USES WITH ZEOLITE 4A). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(22, July-December), 131–145. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/12122
Issue
Section
บทความวิจัย