ผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ต่อสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณชายหาดบางแสนและหาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี(EFFECT OF ANTHROPOGENIC ACTIVITIES ON BENTHIC MACROFAUNA IN BANG SAEN AND WONNAPA BEACHS, CHONBURI PROVINCE)
Abstract
ศึกษาผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ที่มีต่อสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่และปัจจัยสิ่งแวดล้อมบริเวณชายหาดบางแสนและชายหาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี โดยแต่ละชายหาดกำหนดแนวเก็บตัวอย่างออกเป็น 3 สถานี แต่ละสถานีห่างกัน 100 เมตร แต่ละสถานีแบ่งออกเป็น 2 สถานีย่อย คือบริเวณน้ำขึ้นสูงสุด (0 เมตร) และบริเวณห่างจากน้ำขึ้นสูงสุด 10 เมตร ผลการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งสิ้น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไส้เดือนทะเล (Polychaetes) หอย (Molluscs) และครัสตาเซียน (Crustaceans) จำนวนชนิดสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณชายหาดบางแสน (12 ชนิด) พบมากกว่าหาดวอนนภา (9 ชนิด) ความหนาแน่นและมวลชีวภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณหาดวอนนภา (4-704 ตัวต่อตารางเมตร และ 0.07-70.77 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ) มีค่ามากกว่าบริเวณชายหาดบางแสน (12-80 ตัวต่อตารางเมตร และ 0.13-58.00 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ) เนื่องจากพบไส้เดือนทะเล Scoloplos sp. และแอมฟิพอด (Amphipods) ชุกชุม คุณสมบัติของดินตะกอนทั้งขนาดอนุภาคและปริมาณสารอินทรีย์ ความเค็ม และความเป็นกรด-ด่างของน้ำในดินเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการกระจายและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินคำสำคัญ: กิจกรรมของมนุษย์ หาดทราย สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ จังหวัดชลบุรีThe anthropogenic impacts on benthic macrofauna and environmental factors in Bang Saen and Wonnapa beaches, Chon Buri Province were investigated. Three sampling stations were set every 100 m along transect line of each beach. Each station was divided into 2 subsamplings: high water (innermost) station and 10 m offshore (outermost) station. Three taxa of macrofauna were recorded namely polychaetes, bivalves and crustaceans. The number of species of benthic fauna was higher in Bang Saen (12 species) than Wonnapa (9 species). The abundance and biomass of benthic macrofauna in Wonnapa (4-704 inds m-2 and 0.107-70.77 g m-2, respectively) were higher than those in Bang Saen (12-80 inds m-2 and 0.13-58.00 g m-2, respectively) due to the abundance of orbiniid polychaete, Scoloplos sp. and amphipods. The sediment properties including grain size composition and organic matter content, salinity and pH of the interstitial water were the main factors related to distribution and density of benthic macrofauna in these areas.Keywords: Anthropogenic Activities, Sandy Beach, Benthic Macrofauna, Chon Buri ProvinceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-25
How to Cite
(Natthakitt To-orn) ณ. โ. (2019). ผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ต่อสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณชายหาดบางแสนและหาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี(EFFECT OF ANTHROPOGENIC ACTIVITIES ON BENTHIC MACROFAUNA IN BANG SAEN AND WONNAPA BEACHS, CHONBURI PROVINCE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(21, January-June), 86–99. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/11424
Issue
Section
บทความวิจัย