การวิเคราะห์หาสาเหตุและมาตรการป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูงขาดในเมืองพัทยา(CAUSE ANALYSIS AND PREVENTIVE MEASURE OF HIGH VOLTAGE CABLE BROKEN IN PATTAYA CITY)

Authors

  • ชนม์นิภา กุลชาติสถาพร (Chonnipa Kulachartsataporn) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University.
  • เลิศชัย ระตะนะอาพร (Lertchai Ratana-arporn) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University.

Abstract

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้คือ ศึกษาและวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการขาดของสายไฟฟ้าแรงสูงระดับแรงดัน 22 kV ซึ่งเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเกิดการสูญเสียจากเหตุการณ์ที่สายไฟแรงสูงขาดเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองพัทยาเป็นประจำทุกเดือนจากการศึกษาข้อมูลสถิติการเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องในพื้นที่เมืองพัทยาช่วงปี พ.ศ. 2558-2559 และออกสำรวจพื้นที่ศึกษาเฉพาะคือพัทยาใต้วงจรที่ 3 บริเวณถนนเกษตรสินบนเขาพระตำหนัก รวมระยะทาง 7.96 วงจร-กิโลเมตร พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้สายไฟฟ้าแรงสูงขาดสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่ สายไฟเกิดการอาร์ค ลัดวงจรเนื่องจากสัตว์ และต้นไม้ทับสายไฟฟ้า จึงทำการวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและป้องกันด้วยการกำหนดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายด้วยการถ่ายภาพจุดร้อน การติดตั้งลูกถ้วยแบบ TR-202 พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์ และให้มีการตัดกิ่งไม้เป็นระยะๆ ตามลำดับจากการติดตามผลช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 พบว่าจำนวนครั้งของกระแสไฟฟ้าขัดข้องลดลงจาก 0.67 ครั้ง/เดือนโดยเฉลี่ย เหลือต่ำกว่า 0.33 ครั้ง/เดือนโดยเฉลี่ย และสายไฟฟ้าขาดลดลงจาก 1.5 ครั้ง/ปีโดยเฉลี่ย จนถึงปัจจุบันยังไม่พบมีเหตุการณ์สายไฟฟ้าขาดแต่ประการใดคำสำคัญ: สายไฟฟ้าแรงสูง  ระบบจำหน่ายไฟฟ้า  เมืองพัทยาThe purpose of this research is to study and analyse of the factors affecting high voltage cable (22 kV) split which caused the people injured by the incident and power outages in Pattaya city every month.The study of statistical data on the occurrence of power outages in area of Pattaya since 2015-2016 and the survey area in the third feeder of south Pattaya sub power station which supply power to Kasetsin road on Pratamnak Hill amount 7.96 circuit-kilometers. The top 3 factors affecting high voltage split in distribution system are the arc of high voltage cable, arc animals and trees over the cable. Thus, the safety measurement are applied to prevent the mensioned problems by monitoring equipment in distribution system by thermographic inspection; installing TR-202 insulators with barrier to protect animals and cutting branches in the direction of distribution system.From January 2017 to March 2018, the events of power outages were reduced from 0.67 times/month by average to less than 0.33 times/month by average. The incident was caused by high voltage cable split reduced from 1.5 times/year by average, until the incident is not found at the present time.Keywords: High Voltage Cable, Distribution System, Pattaya City

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ชนม์นิภา กุลชาติสถาพร (Chonnipa Kulachartsataporn), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University.

ภาควิชาวิศวกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์Department of Safety Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University.

เลิศชัย ระตะนะอาพร (Lertchai Ratana-arporn), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University.

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University.

Downloads

Published

2019-06-25

How to Cite

(Chonnipa Kulachartsataporn) ช. ก., & (Lertchai Ratana-arporn) เ. ร. (2019). การวิเคราะห์หาสาเหตุและมาตรการป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูงขาดในเมืองพัทยา(CAUSE ANALYSIS AND PREVENTIVE MEASURE OF HIGH VOLTAGE CABLE BROKEN IN PATTAYA CITY). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(21, January-June), 52–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/11421