ความสามารถในการรองรับกรดในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยการใช้ The First-Order Acidity Balance Model(A CRITICAL LOAD FOR ACIDITY OF VAJIRALONGKORN RESERVOIR IN KANCHANABURI PROVINCE BY USING A FIRST-ORDER ACIDITY BALANCE MODEL)

Authors

  • จุฑารัตน์ เสงี่ยมวงษ์ (Jutharat Sangiamwong) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ศุภิกา วานิชชัง (Supika Vanitchung) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินค่า Critical Load (CL) ของกรด ด้วยวิธี The First-Order Acidity Balance (FAB) Model ซึ่งเป็นวิธีที่อาศัยสมการสมดุลประจุระหว่างแหล่งก่อและแหล่งรองรับซัลเฟอร์และไนโตรเจนภายใต้สภาวะสมดุลในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้กลุ่มข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ข้อมูลโดยตรง (Direct Data) ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่แหล่งน้ำผิวดิน การตกสะสมของซัลเฟอร์และไนโตรเจน และ 2) ข้อมูลโดยอ้อม (Indirect Data) ได้แก่ น้ำท่ารายปี ไนโตรเจนที่พืชดูดซึมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ความเข้มข้นของ Base Cation ช่วงก่อนอุตสาหกรรมผลการศึกษาการคำนวณค่า Critical Load ของกรด พบว่า ไนโตรเจนที่พืชดูดซึมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตมีค่า 9,980 อิควิวาเลนท์/เฮกตาร์/ปี ปริมาณน้ำท่ารายปี มีค่า 1.15 เมตร/ปี และค่าเฉลี่ยการตกสะสมของซัลเฟอร์และไนโตรเจน เท่ากับ 121.96 และ 85.09 อิควิวาเลนท์/เฮกตาร์/ปี ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าตกสะสมของซัลเฟอร์และไนโตรเจนในเขตกรุงเทพฯ ถึง 4 เท่า และเลือกใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ความอ่อนไหวของพารามิเตอร์ และความซับซ้อนของแบบจำลองโดยเมื่อใช้ Acid Neutralization Capacity limit (ANClimit) ที่ 20 ไมโครอิควิวาเลนท์/ลิตร ที่เป็นระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำมาใช้ประเมินในแบบจำลอง FAB model พบว่า อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณมีความสามารถในการรองรับซัลเฟอร์และไนโตรเจนได้ 6.637 กิโลอิควิวาเลนท์/เฮกตาร์/ปีคำสำคัญ: การประเมินความสามารถในการรองรับกรด  การตกสะสมของซัลเฟอร์และไนโตรเจน  รูปแบบการสมดุลกรดอันดับหนึ่งThis study estimates the critical load (CL) of acidity for Vajiralongkorn reservoir, Kanchanaburi province by the first-order acidity balance (FAB) model, which bases its calculation on the steady state mass balance between sinks and sources of sulfur and nitrogen. The data required for calculation can be classified into two groups: direct and indirect data. Direct data is that which can be collected directly from sources of information. These include catchment area, forest in the catchment area, lake area and sulfur and nitrogen depositions. The indirect data are the estimated values, annual run off, sulfur and nitrogen uptakes, and base cation concentrations at a pre-industrial rate.The results estimate of data used to calculate the critical load of acid, nitrogen uptake was 9,980 eq/ha/yr, annual runoff was 1.15 m/yr and annual averages of sulfur and nitrogen depositions were 121.96 and 85.09 eq/ha/yr, respectively. The deposition monitoring amount in Kanchanaburi was 4 times lower compared with Bangkok. Depending on the quality of input data, their sensitivity, and the complexity of the FAB model, a value for acid neutralizing capacity (ANC) limit of 20 μeq/liter was used to calculate CL. To ensure no damage to fish. The critical load of acidity (sulfur and nitrogen) in the Vajiralongkorn reservoir was 6.637 keq/ha/yr.Keywords: Critical Load Of Acidity, Sulfur and Nitrogen Deposition, The First-Order Acidity Balance (FAB) Model

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

จุฑารัตน์ เสงี่ยมวงษ์ (Jutharat Sangiamwong), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Environmental Culture and Ecotourism, Srinakharinwirot University.

ศุภิกา วานิชชัง (Supika Vanitchung), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Environmental Culture and Ecotourism, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-06-24

How to Cite

(Jutharat Sangiamwong) จ. เ., & (Supika Vanitchung) ศ. ว. (2019). ความสามารถในการรองรับกรดในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยการใช้ The First-Order Acidity Balance Model(A CRITICAL LOAD FOR ACIDITY OF VAJIRALONGKORN RESERVOIR IN KANCHANABURI PROVINCE BY USING A FIRST-ORDER ACIDITY BALANCE MODEL). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(21, January-June), 24–37. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/11404