การศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของศีรษะ และต้นแขนขณะทำงานของนิสิตทันตแพทย์ที่ใช้และไม่ใช้อุปกรณ์การยศาสตร์เพื่อฝึกงานทางทันตกรรม

Authors

  • ณัฐวดี เองสมบุญ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.
  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • วนิดา นิมมานนท์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การปฏิบัติงานทางทันตกรรมของนิสิตทันตแพทย์พบว่า เป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง ซึ่งเกิดจากการทำงานในท่าที่ไม่อยู่ในสมดุลเป็นเวลานานๆ ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ทางการยศาสตร์มาช่วยเพื่อให้ทำงานในท่าทางที่เหมาะสมแต่ยังคงมีอาการเจ็บปวด ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาออกแบบอุปกรณ์เพื่อพัฒนาท่าทางให้อยู่ในสมดุลวัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาอุปกรณ์การยศาสตร์เพื่อฝึกงานทางทันตกรรม (Intelligent Ergonomic Trainer: IET) จากความสามารถในการกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมในการทำงานของนิสิตทันตแพทย์โดยมีข้อมูลป้อนกลับขณะทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม โดยทำการเปรียบเทียบกับการชมภาพวีดีทัศน์การปฏิบัติงานย้อนหลังวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ ผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 32 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 16 คน โดยใช้วิธีแบบสุ่ม ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกท่าทางทั้งการใช้อุปกรณ์การยศาสตร์เพื่อฝึกงานทางทันตกรรมโดยมีข้อมูลป้อนกลับ และชมภาพวีดีทัศน์การปฏิบัติงานย้อนหลังในลำดับที่ต่างกันในขณะทำการอุดฟันกรามบนขวาซี่ที่หนึ่งในหุ่นจำลอง ครั้งละ 5 ซี่ ในวันแรกทำการบันทึกการเคลื่อนไหวจากการวัดมุมของศีรษะและต้นแขนของทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานจากนั้นทำการฝึกในวิธีที่ต่างกันในแต่ละกลุ่มในครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ทำการทดสอบ และบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวทั้งสองกลุ่ม ครั้งที่ 4 สลับวิธีการฝึกในแต่ละกลุ่ม ครั้งที่ 5 ทำการทดสอบ และบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวทั้งสองกลุ่ม นำข้อมูลการเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่ม ที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเปรียบเทียบกับข้อมูลครั้งที่สามและครั้งหลังสุดโดยใช้สถิติ pair t-testผลการศึกษา กลุ่มนิสิตทันตแพทย์ที่มีการใช้อุปกรณ์การยศาสตร์โดยมีข้อมูลป้อนกลับเพื่อฝึกงานทางทันตกรรม และการชมภาพวีดีทัศน์ที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวย้อนหลังทั้งสองกลุ่มมีการพัฒนาท่าทางในการทำงานให้กลับมาอยู่ในช่วงการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่มในการสลับวิธีการฝึกตามลำดับ สรุป อุปกรณ์การยศาสตร์เพื่อฝึกงานทางทันตกรรม และการชมภาพวีดีทัศน์ย้อนหลังช่วยพัฒนาท่าทางการทำงานที่เหมาะสมในนิสิตทันตแพทย์ คำสำคัญ: อุปกรณ์การยศาสตร์เพื่อฝึกงานทางทันตกรรม  การให้ข้อมูลป้อนกลับชนิดเสียง  การชมวีดีทัศน์ซ้ำ  ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อWorking posture of dental students can cause work related musculoskeletal disorders (WMSDs) in neck, shoulder and back areas. This was resulting from the repetitive improper posture. Although the dental ergonomics was applied to improve the posture, the pain still occurred. Therefore, in the present trend, the material design technology has been applied to the devices for improving the ergonomic posture.Objective: The aim of this study was to develop the ergonomic devices to improve posture for dental students namely, Intelligent Ergonomic Trainer (IET) and compared with watching the video playback. IET had a capability to determine the proper position in dental practice and help correcting the work position by recording and warning when the dental students were not working in the appropriate posture by comparison with viewing of video after work.Materials and Methods: The real time feedback IET program and video playback with no feedback IET program were applied to 32 dental students who randomly divided into 2 groups. Each group did 5 sessions of filling 5 upper right first molar typodont teeth per session. Both groups were applied both programs different sequence. The baseline data of angles of head and upper arm were collected on the first day from both groups for using IET program with each group were separated to complete their task (the real time feedback IET task and video playback with no feedback IET task). Then the second practice in different ways in each group in the second session. In the third time, both groups were tested and recorded only the movement assessment I data. In the fourth time, the participant in two groups were switched their task (the real time feedback IET task and video playback with no feedback IET task). Finally, the fifth time, both groups were tested and recorded the assessment II data. The data from the first, third, and fifth times were statistically analyzed using the pair t-test.Results: The results showed that both IET programs with feedback and video playback was significantly improving the posture in dental students. However, there was no statistically significant difference between two groups when alternating the training programs.Conclusion: Both IET programs with feedback and video playback can develop the proper posture for dental students.Keywords: Intelligent Ergonomic Trainer, Real Time Feedback, Video Playback, Musculoskeletal Disorders

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณัฐวดี เองสมบุญ, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

ภาควิชาทันตกรรมขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลDepartment of Advanced Dentistry, Faculty of Dentistry, Mahidol University.

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of General Dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

วนิดา นิมมานนท์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of General Dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2018-08-17

How to Cite

เองสมบุญ ณ., ธนธรวงศ์ พ., & นิมมานนท์ ว. (2018). การศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของศีรษะ และต้นแขนขณะทำงานของนิสิตทันตแพทย์ที่ใช้และไม่ใช้อุปกรณ์การยศาสตร์เพื่อฝึกงานทางทันตกรรม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(19, January-June), 31–49. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/10490