การพัฒนาแบบจำลองการเลือกรูปแบบการเดินทางสำหรับนักเรียน ระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคลและรถรับส่งนักเรียน

Authors

  • ณภัทร เลขะวัฒนะ สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศิรดล ศิริธร สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Abstract

ABSTRACT This research aimed to gain understanding of school trip mode preferences in the municipality of NakhonRatchasima. A new mode, school bus, was offered to commuters and survey was conducted via a State Preference(SP) technique. The mode choice decision was up to the individual based on the theory of utility of each alternative. The survey results were used to develop a Binary Logit model in order to forecast the proportion of travel mode choice according to future public transportation policy.  The outcome of the study showed that factors influencing the selection of school bus mode were distance from home to school, wait time at the bus stop, and the cost of the school bus. The accuracy of the model was 73.40 percent. The study ultimately concluded that if the school bus was to be provided every 5-10 minutes at 5-15 baht fare on the predetermined routes, there would be 58.63 percent mode shift from private car to school bus mode. Keyword: School Bus, mode choice, Binary Logit model บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์หาพฤติกรรมการเลือกยานพาหนะของนักเรียนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคลและรถรับส่งนักเรียน ที่เป็นสถานการณ์สมมติหรือ Stated Preference (SP) โดยพิจารณาพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนซึ่งจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล (Individual) บนพื้นฐานทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility) ที่จะตอบสนองสถานการณ์ทางเลือกใหม่  ค่าความพอใจของทางเลือกใหม่จะถูกนำมาพัฒนาเป็นแบบจำลอง Binary Logit เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์สัดส่วนของการเลือกยานพาหนะเดินทางในอนาคต การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองนักเรียนในการเดินทางมารับส่งนักเรียนด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลจะเปลี่ยนมาเลือกใช้บริการรถรับส่งนักเรียน คือ ระยะทางในการเดินทางจากบ้านมายังโรงเรียน, สถานการณ์สมมติด้านเวลาในการรอคอยรถรับส่งนักเรียนที่จุดจอดรถ, และสถานการณ์สมมติด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรถรับส่งนักเรียน ซึ่งคิดความถูกต้องของแบบจำลองเป็นร้อยละ 73.40 และหากมีการจัดทำโครงการรถรับส่งนักเรียนขึ้นในอนาคตโดยใช้เวลาในการเดินทางจากบ้านมายังจุดจอดรถรับส่งนักเรียน 10-20 นาทีเวลาในการรอคอยรถรับส่งนักเรียนที่จุดจอดรถ 5-10 นาทีและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรถรับส่งนักเรียน 5-15 บาท จะสามารถพยากรณ์สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงการเดินทางได้ถึงร้อยละ 58.63 คำสำคัญ: รถรับส่งนักเรียน, การเลือกรูปแบบการเดินทาง, แบบจำลองประเภทโลจิตทวินาม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-07-02