พลังงานคลื่นในประเทศไทย: นโยบายและความเหมาะสมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

Authors

  • ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
  • ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
  • ไตรรัตน์ ใจดี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
  • จิรกฤติ เลิศมงคลนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

Abstract

บทคัดย่อ รัฐบาลไทยมีนโยบายที่สำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้พบว่าแนวโน้มความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี ถึงแม้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันและแก๊ส แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการด้านพลังงานและมีแนวโน้มความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้ายังคงสูงขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง และทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน จากการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว พบว่าพลังงานทดแทนจากธรรมชาติยังคงมีศักยภาพสูงและไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีความพยายามในการนำเอาพลังงานทดแทนเหล่านี้มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาความต้องการพลังงานและให้เกิดการแก้ไขอย่างยั่งยืน สำหรับการใช้พลังงานคลื่นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พบว่าความสูงคลื่นเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อศักยภาพด้านพลังงาน โดยความสูงคลื่นสูงสุดในบริเวณอ่าวไทยเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ปี 2554 มีความสูง 2.6 เมตร และความสูงคลื่นนัยสำคัญเฉลี่ยคือ 0.9 เมตร ในขณะที่การศึกษาศักยภาพพลังงานคลื่นเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่มีการศึกษาและใช้งานจริงแล้วในบริเวณประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาสถานะปัจจุบัน และเปรียบเทียบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่น ซึ่งพบว่าคุณสมบัติที่เหมาะสมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่นที่เหมาะสมในการผลิตไฟฟ้าคือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่น Drakoo คำสำคัญ: พลังงานหมุนเวียน, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่น, พลังงานคลื่น, ประเทศไทย ABSTRACT Energy conservation has been an important policy for the Thai government since the enforcement of the Energy Conservation Promotion Act in 1992.  Recently, an economy in Thailand has been increasing. Due to this reason, the energy consumption in Thailand increased continuously at an annual average rate of 4.4%. Although there has been continuous discovery of oil and gas in Thailand, the domestic demand for energy still has been growing resulting in energy import. Thailand has to rely on energy import from the neighboring countries to solve this problem but it is not enough. Alternative energy is, therefore, highly necessary. It was, then, realized that there are potentials of natural energy resources in all parts of Thailand, for example, solar energy, wind energy, hydropower, etc. These make Thailand renewable energy potentials are at a very good level with opportunities to be promoted as energy sources and create the promising country energy security. Renewable energy would be a target fuel expected to substitute natural gas for power generation. From the previous researches, it was found that the highest wave height in the Gulf of Thailand (GoT) can be found in September with the height of 2.6 m. The average significant wave height is 0.9 m. However, there is still no existing ocean wave energy generator in Thailand whereas the neighboring countries are trying to use this kind of energy. Nowadays, there are many types of ocean wave power generator installed in many countries. The aim of this study is to study the current status and compare the wave generator for power generation. The best characteristic of wave power generator which can generate electricity in this area can be defined base on the Drakoo power generator. Keyword: Renewable energy, Wave power generator, Wave energy, Thailand

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-01-04