Srinakharinwirot Engineering Journal https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj <p>คำอธิบายเกี่ยวกับวารสาร</p> en-US <p>ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> journalengswu@gmail.com (ชื่อบรรณาธิการ) journalengswu@gmail.com (นางสาวยุพาพร ประไพย์) Mon, 19 Jun 2017 13:10:36 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาสมรรถนะเครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวมวล https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8893 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะเครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวมวลที่มี ตู้อบแห้ง แผงรับรังสีดวงอาทิตย์ และชุดแลกเปลี่ยนความร้อนจากเตาชีวมวลในระดับครัวเรือนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งออกแบบและสร้างขึ้นได้นำไปทดสอบการอบพริกที่มีความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 664 มาตรฐานแห้ง จำนวน 2 kg ให้เหลือความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 13.5 มาตรฐานแห้ง ภายใต้อุณหภูมิ 80<sup>◦</sup>C ผลจากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การอบแห้งด้วยความเร็วลม 7.27 m/s เป็นความเร็วลมที่เหมาะสมต่อการรักษาอุณหภูมิที่ผลิตได้จากแผงรับรังสีดวงอาทิตย์ได้เฉลี่ยมากกว่า 50<sup>◦</sup>C นานถึง 6 ชั่วโมง และการอบแห้งด้วยความเร็วลม 7.63 m/s เหมาะสมต่อการทำให้อุณหภูมิของตู้อบแห้งสูงกว่า 50<sup>◦</sup>C ภายใน 2 ชั่วโมง ด้วยชุดแลกเปลี่ยนความร้อนจากเตาชีวมวลในระดับครัวเรือน เมื่อทดสอบอบพริกจำนวน 2 kg เป็นเวลา 15 ชั่วโมง พบว่า เครื่องอบแห้งมีความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะและความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะอยู่ที่ 1.25 MJ/kg<sub>water</sub> และ 1.44 kg/kg<sub>water</sub> ตามลำดับ พริกที่ผ่านการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งนี้มีความชื้นต่ำกว่ามาตรฐานพริกแห้งอยู่ประมาณร้อยละ 57.90</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เครื่องอบแห้ง เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ สมรรถนะการอบแห้ง</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The performance of a solar biomass hybrid dryer for agricultural product was investigated. The dryer consisting of a drying oven, a solar collector and a biomass gas stove heat exchanger was designed and fabricated for drying 2 kg of chilies to contain moisture less than 13.5 % dry-basis (d.b.) at 80<sup>◦</sup>C. Test results indicated that the wind speed of 7.27 m/s was suitable for flowing hot air which was exchanged from the solar collector for maintaining temperature in the drying oven of more than 50<sup>◦</sup>C with time of 6 hr, approximately. Moreover, the wind speed of 7.63 m/s was suitable for flowing hot air exchanging from the biomass gas stove heat exchanger to increase the drying temperature in the oven more than 50<sup>◦</sup>C in 2 hr. Finally, 2 kg of chilies containing the initial moisture content of 644 % d.b. were dried for 15 hr. The result showed that the specific energy consumption and the specific fuel consumption of this dryer are 1.25 MJ/kg<sub>water</sub> and 1.44 kg/kg<sub>water</sub>, respectively. Dried chilies contained the final moisture lower the dried chili standard 57.90 %, approximately.</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Keyword: </strong>Biomass, Dryer, Dryer Performance, Solar Energy</p></div> <br /> สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8893 Tue, 20 Jun 2017 00:00:00 +0000 การศึกษาการทำแผ่นกระเบื้องหลังคาจากเส้นใยธรรมชาติ กรณีศึกษา : เส้นใยใบสับปะรด และ เส้นใยเปลือกข้าวโพด https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8894 <div class="WordSection1"><div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p>การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทำแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาจากเส้นใยสับปะรดและเส้นใยเปลือกข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ ใช้กาวสังเคราะห์ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ เรซิน (UF)13 %และกาวสังเคราะห์ไอโซไชยาเนต เรซิน(pMDI) 13 % ทำหน้าที่เป็นสารยึดติด โดยวิธีอัดร้อนผ่านแม่พิมพ์ชนิดลอนเล็ก ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส แรงดันในการอัด 150 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เวลาในการอัด 15 นาที ความหนาแน่นที่กำหนด 900 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีขนาด 400 X 400 มิลลิเมตรและความหนาแผ่น 5 มิลลิเมตร</p> <p>ผลการศึกษาสมบัติการทำแผ่นกระเบื้องหลังคาจากเส้นใยธรรมชาติ<strong> </strong>พบว่าการทดสอบสมบัติเชิงกายภาพ ค่าความหนาแน่นของแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ใช้กาวสังเคราะห์ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ เรซิน(UF) มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 914.77 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าความชื้นค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.43 % ค่าการดูดซึมน้ำที่ 1 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 21.99 % ค่าการดูดซึมน้ำที่ 24 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 31.30 % ค่าการพองตัวทางความหนาที่ 1 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 7.81 % ค่าการพองตัวทางความหนาที่ 24 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 9.26 % การทดสอบสมบัติเชิงกลได้ค่าความต้านทานแรงดัดค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 231.42 MPa ค่าความต้านทานมอดูลัสยืดหยุ่นค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 68656.62 MPa ค่าความแข็งแรงการกระแทกค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.57 J การทดสอบสมบัติเชิงความร้อนได้ค่าการนำความร้อนค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.012 w/m.K และค่าความต้านทานความร้อนค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.34 m<sup>2</sup>.k/w ส่วนผลของการทดสอบแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ใช้กาวสังเคราะห์ไอโซไชยาเนต เรซิน (pMDI)การทดสอบสมบัติเชิงกายภาพได้ค่าความหนาแน่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 924.71 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าความชื้นค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.65 % ค่าการดูดซึมน้ำที่ 1 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 12.30 % ค่าการดูดซึมน้ำที่ 24 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24.66 % ค่าการพองตัวทางความหนาที่ 1 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.16 % ค่าการพองตัวทางความหนาที่ 24 ชั่วโมงค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8.48 % การทดสอบสมบัติเชิงกลได้ค่าความต้านทานแรงดัดค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 274.99 MPa ค่าความต้านทานมอดูลัสยืดหยุ่นค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 59366.07 MPa ค่าความแข็งแรงการกระแทกค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.94 J และการทดสอบสมบัติเชิงความร้อนได้ค่าการนำความร้อนค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.013 w/m.K และค่าความต้านทานความร้อนค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.28 m<sup>2</sup>.k/w</p> <p>จากผลการทดสอบสมบัติเชิงกายภาพ เชิงกลและเชิงความร้อน แสดงให้เห็นว่าวัสดุของเส้นใย รูปร่างลักษณะเส้นใยที่ยาวหรือสั้น ความเฉพาะตัวของเส้นใยหรือความเพรียวรวมถึงความสามารถในการยึดเหนี่ยวชิ้นเส้นใยที่มีขนาดยาวๆจะส่งผลให้ค่าความแข็งแรงที่มากกว่า ชิ้นเส้นใยที่หนาและสั้น ซึ่งไม่สามารถต้านทานแรงกดได้สูง ความหนาแน่นของแผ่น ชนิดของกาว มีผลต่อความแข็งแรงและค่าความร้อนของแผ่นหลังคา ซึ่งจากผลค่าเฉลี่ยที่ได้จากค่าความหนาแน่นที่ต่ำ จะมีช่องว่างมากกว่าทำให้ค่าการนำความร้อนต่ำกว่าแผ่นที่มีความหนาแน่นสูง</p></div> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เส้นใยใบสับปะรด,เส้นใยเปลือกข้าวโพด,เส้นใยธรรมชาติ,กระเบื้องหลังคา</p><p> </p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p><p>The purpose of this research was to study tile roofing made from pineapple and maize fibers. Synthetic urea-formaldehyde resin (UF)13% and Diphenylmethane di-isocyanate (pMDI) 13% were used as adhesives. It was made by heating at 120 °C with a compression pressure of 150 kg/m2, density of 900 kg/m3 and thickness of 5 mm.</p> <p>The density of the synthetic urea-formaldehyde resins (UF), moisture content, water absorption per hour, water absorption at 24 hours, expansion for the first hour and expansion at 24 hours averaged 914.77 kg /m3, 5.43%, 21.99%, 31.30%, 7.81% and 9.26% respectively.The impedance modulus of rupture and elasticity were 231.42 MPa, and 68656.62 MPa respectively. Cushioning Strength was 1.57J with thermal conductivity values of 0.012 w/m.K. and thermal resistance of 0.34 m2.k/w.</p> <p>Physical testing of the diphenylmethane diisocyanate resin (pMDI) yielded these results: average density, average moisture content, water absorption per hour and water absorption at 24 hours were 924.71 kg/m3, 3.65%, 12.30% and 24.66% respectively. For expansion for the first hour, the average thickness was 3.16% while the expansion at 24 hour had an average thickness of 8.48%, with mechanical properties, the impedance modulus of rupture and elasticity were 274.99 MPa and 59366.07 MPa respectively, with a Cushioning Strength of 1.94 J. Thermal conductivity and resistance were 0.013 w / m.K. and 0.28 m2.k/w. respectively.</p> <p>It was observed that physical, mechanical and thermal properties yielded higher values. The short fibers could not withstand high compression while the long fibers did. Sheet density affected its strength and thermal properties. With high density, sheets had high thermal property and enhanced heat transfer.</p> <p><strong>Keyword:</strong> pineapple fibers, maize husk fibers, natural fibers, roof tile</p><br /><p> </p></div> นิตยา พัดเกาะ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8894 Tue, 20 Jun 2017 00:00:00 +0000 การรวมกันของวิทยาการอำพรางข้อมูลกับวิทยาการเข้ารหัสลับ สำหรับภาพทางการแพทย์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8895 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการรวมกันของสองขั้นตอนวิธีประกอบด้วยการอำพรางข้อมูลแบบที่สามารถกู้คืนกลับได้ (Reversible Data Hiding: RDH) และการเข้ารหัสลับ (Advanced Encryption Standard: AES) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล หลายเทคนิคของ RDH ถูกใช้ร่วมกันเพื่อให้ได้รับความบิดเบือนต่ำสุดสำหรับการซ่อนข้อมูล หนึ่งตัวทำนาย Linear Fitting Rhombus Pattern (LFRP) ถูกใช้สำหรับการทำนาย, Local variance ใช้สำหรับการเรียงค่าความผิดพลาดจากการทำนาย, Double Modification Testing (DMT) ใช้เพื่อการตรวจสอบสถานะของพิกเซล และเทคนิค Histogram Shifting ใช้ในการฝัง มากไปกว่านั้น ขั้นตอนวิธี AES ถูกประยุกต์ใช้ร่วมในงานนี้สำหรับการเข้ารหัสลับอีกชั้นหนึ่งสำหรับข้อมูล Header 128 บิต ของขั้นตอนวิธีการเข้ารหัส RDH เพื่อให้แน่ใจสำหรับการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การทดสอบภาพแบบไบนารีหลายขนาดถูกใช้ฝังลงในภาพทางการแพทย์ซึ่งได้รับมาจากเครื่องมือที่แตกต่างกัน อาทิเช่น Magnetic Resonance Image (MRI) Ultrasound (US) และ X-ray ผลลัพธ์ขั้นตอนวิธีที่นำเสนอแสดงให้เห็นความบิดเบือนของการฝังที่ต่ำ และความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูลที่สูงขึ้น</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>การอำพรางข้อมูลแบบที่สามารถกู้คืนกลับได้ (RDH) การเข้ารหัสลับ (AES)</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>This paper presents two algorithms, Reversible Data Hiding (RDH) and Advanced Encryption Standard (AES) to enhance the security of unauthorized data access. Many techniques of RDH can be shared to achieve minimal distortion when hiding information. A Linear Fitting Rhombus Pattern Predictor (LFRPP) was used for prediction, with, local variance to sort prediction error values. Double Modification Testing (DMT) was used to check the status of pixels with Histogram Shifting (HS) employed for data embedding. The AES algorithm was applied for encryption 128 bit RDH encoder algorithm Header to ensure data protection and restrict access by unauthorized persons. Various quantities of binary information embedded into medical imaging and derived from the diverse sources of Magnetic Resonance Image (MRI), Ultrasound (US) and X-ray were tested. Results showed a distortion between embedding low and higher data security.</p> <p> </p> <p><strong>Keyword: </strong>Reversible Data Hiding, Advanced Encryption Standard</p></div> <br /> ชัยพร ปานยินดี, พุธภรณ์ เอี่ยมภาษี, นิษฐา อรุณสินประเสริฐ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8895 Tue, 20 Jun 2017 00:00:00 +0000 การออกแบบระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางสำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ แบบดิฟเฟอเรนเชียลไดร์ฟ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8908 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบและประยุกต์ใช้ตัวควบคุมฟัซซีลอจิก สำหรับควบคุมการสร้างเส้นทาง เพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ไปยังตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้แบบอัตโนมัติ การออกแบบเริ่มจากหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบดิฟเฟอเรน-เชียลไดร์ฟ ซึ่งจะทำการหาแบบจำลองทางจลนศาสตร์และพลศาสตร์ของหุ่นยนต์ จากนั้นสร้างเส้นทางให้กับหุ่นยนต์ด้วยตัวควบคุมฟัซซีลอจิกโดยการกำหนดตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการไว้ และใช้ตัวควบคุมพีไอดีเพื่อควบคุมให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่สร้างขึ้นมา และหากมีการตรวจพบสิ่งกีดขวางตัวควบคุมฟัซซีลอจิกจะสร้างเส้นทางใหม่เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถหลบหลีกและเคลื่อนที่ผ่านไปได้ โดยทำการทดสอบจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยโปรแกรม MATLAB/Simulink จากผลทดสอบจำลองการเคลื่อนที่พบว่าตัวควบคุมที่สร้างขึ้นสามารถสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่เพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่จากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้ และเมื่อมีการตรวจพบสิ่งกีดขวางหุ่นยนต์นั้นสามารถหลบหลีกและเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการได้เช่นกัน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ตัวควบคุมฟัซซีลอจิก หุ่นยนต์เคลื่อนที่ หลบหลีกสิ่งกีดขวาง</p> <p> </p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>This article presents the design and application of fuzzy logic controller for path generator control in order that mobile robot tracks the path to the target and avoids the obstacle. The control design is required the mathematical model of differential drive mobile robot, which includes the kinematic and dynamic models. Fuzzy logic controller is used to generate a path for the mobile robot and PID controller is implemented for controlling the position of mobile robot to tracks the path, which is generated by fuzzy logic controller. And when it detects the obstacle, then fuzzy logic controller will generates a new path for avoiding that obstacle. MATLAB/Simulink software is implemented to simulate the proposed algorithm. The simulation results show that the proposed controller can generates a good path with avoiding the obstacle to the target and mobile robot can tracks this path to the target.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Fuzzy Logic Controller, Mobile Robot, Obstacle Avoidance</p> <p> </p></div> <br /> มนูศักดิ์ จานทอง, ไกรศักดิ์ โพธิ์ทองคำ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8908 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 ผลของกระบวนการทางความเย็นต่อปริมาณของโครเมียมคาร์ไบด์ ในเหล็กกล้าเครื่องมือ JIS SKD11 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8915 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางความเย็นที่มีผลต่อสมบัติเชิงกลและปริมาณของโครเมียมคาร์ไบด์ในเหล็กกล้าเครื่องมือเกรด JIS SKD11 โดยใช้กระบวนการทางความเย็นที่แตกต่างกัน 3 เงื่อนไข ได้แก่ อุณหภูมิ -20<sup>o</sup>C, -80<sup>o</sup>C และ -190<sup>o</sup>C ดำเนินการเตรียมชิ้นงานทดสอบและอบชิ้นงานทดสอบที่อุณหภูมิ ออสเทนไนไทซิง 1,020<sup>o</sup>C เวลาอบแช่ 1 ชั่วโมง อบคลายความเค้นที่อุณหภูมิ 100<sup>o</sup>C เวลาอบแช่ 1 ชั่วโมง กระบวนการทางความเย็นในแต่ละอุณหภูมิใช้เวลาอบแช่ 1 ชั่วโมง และอบคืนตัวที่อุณหภูมิ 210<sup>o</sup>C เวลาอบแช่ 1 ชั่วโมง ทดสอบสมบัติทางกล ตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคและปริมาณโครงสร้างผลึกด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันผลการทดลองพบว่า กระบวนการทางความเย็นที่อุณหภูมิ -20<sup>o</sup>C, -80<sup>o</sup>C และ -190<sup>o</sup>C ส่งผลให้ค่าความแข็งเพิ่มขึ้น แต่ค่าการดูดซับแรงกระแทกลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนโครงสร้างจากออสเทนไนต์ตกค้างเป็นมาร์เทนไซต์ โดยที่อุณหภูมิ -190<sup>o</sup>C โครงสร้างของโครเมียมคาร์ไบด์มีขนาดเล็ก กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ และมีปริมาณมากกว่าที่อุณหภูมิ -20<sup>o</sup>C และ -80<sup>o</sup>C</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เหล็กกล้าเครื่องมือ JIS SKD11 ออสเทนไนต์ตกค้าง โครงสร้างผลึก อบคืนตัว กระบวนการทางความเย็น</p> <p> </p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> The research is aimed to effect sub-zero treatments mechanical properties and amount of Chromium carbide in JIS SKD11 by sub-zero treatments with three different conditions that temperature at -20<sup>o</sup>C, -80<sup>o</sup>C and -190<sup>o</sup>C. The specimen has been heated at the temperature of austenitizing 1,020 oC and for holding time about 1 hr., stress relieved at temperature 100<sup>o</sup>C for 1 hour, sub-zero treatments in each temperature use soaking time 1 hour and tempering at temperature soaking time 1 hour. Investigate mechanical properties test microstructure and quantity crystal structure with x-ray <p>diffractometer. The results from the experiment denoted sub-zero treatments temperature at -20<sup>o</sup>C, -80<sup>o</sup>C and -190<sup>o</sup>C as a result increased the hardness but the impact energy was decreased because the structural changed from retained austenite to martensite. At the temperature -80<sup>o</sup>C -190<sup>o</sup>C showed that structure of chromium carbide is small, dispersed evenly and quantity more than temperature -20<sup>o</sup>C and -190<sup>o</sup>C.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Tool Steel JIS SKD11 Retained austenite Crystal structure Tempering Sub-zero treatments</p> มาโนช ริทินโย, ชัยวัฒน์ พีรทัตสุวรรณ, ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ, พงษ์ศักดิ์ รุนกระโทก, อนุชิต คงฤทธิ์, จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8915 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 ปัจจัยของนาโนซิลิกาและนาโนอะลูมินาเป็นสารผสมเพิ่ม ต่อสมบัติของไฮบริดซีเมนต์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8919 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้นาโนซิลิกาและนาโนอะลูมินาเป็นสารผสมเพิ่มต่อคุณสมบัติทางกายภาพและโครงสร้างทางจุลภาคของไฮบริดซีเมนต์ ไฮบริดซีเมนต์ผลิตจากเถ้าลอยและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่อัตราส่วนร้อยละ 90 ต่อ 10 นาโนซิลิกาและนาโนอะลูมินาถูกใช้เป็นสารผสมเพิ่มร้อยละ 0, 1, 2, และ 3 โดยน้ำหนักของ<br /> วัสดุประสาน เพื่อใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตไฮบริดซีเมนต์ สารละลายที่ใช้ในส่วนผสมคือ สารละลายโซเดียม-<br /> ไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 10 โมลาร์ และสารละลายโซเดียมซิลิเกต โดยการใช้อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 0.60 และบ่มที่อุณหภูมิปกติทุกอัตราส่วนผสม <br /> ผลการทดสอบ แสดงให้เห็นว่าการใช้นาโนซิลิกาเป็นสารผสมเพิ่มในไฮบริดซีเมนต์ส่งผลให้ระยะเวลาการก่อตัวลดลง โดยระยะเวลาการก่อตัวของไฮบริดซีเมนต์ระหว่างการใช้นาโนอะลูมินากับนาโนซิลิกาให้ผลไม่แตกต่างกัน การใช้ทั้งนาโนซิลิกาและนาโนอะลูมินาเป็นสารผสมเพิ่มสามารถเพิ่มคุณสมบัติด้านกำลังอัด กำลังดัด และ<br /> กำลังเฉือนอัดของไฮบริดซีเมนต์ โดยการใช้นาโนซิลิกาและนาโนอะลูมินาเป็นสารผสมเพิ่มร้อยละ 2 โดยน้ำหนัก เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมต่อกำลังอัด กำลังดัด และกำลังเฉือนอัดของไฮบริดซีเมนต์ ซึ่งที่อัตราส่วนนี้โครงสร้าง<br /> ทางจุลภาคมีความเป็นเนื้อเดียวกันและการแน่นของเพสต์</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ไฮบริดซีเมนต์ นาโนซิลิกา นาโนอะลูมินา สมบัติเชิงกล โครงสร้างทางจุลภาค</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>This research investigates the use of nano-SiO<sub>2</sub> and nano-Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub> as an additive <br /> on the mechanical and microstructure properties of hybrid cements. Hybrid cements are manufactured from FA and PC with FA:PC ratio at 90:10. Nano-SiO<sub>2</sub> and nano-Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub> are used as an additive at the dosages of 0%, 1%, 2%, and 3% by weight of binder for making hybrid cements. The alkali solutions are 10M sodium hydroxide (NaOH) and sodium silicate (Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>) solutions. Constants alkaline liquid/binder ratio of 0.60 and curing at ambient temperature are used in all mixtures. Test results show that the use of nano-SiO<sub>2</sub> as an additive in hybrid cements results in decreasing of setting time. While the comparison between nano-SiO<sub>2</sub> and nano-Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub>, the setting time of hybrid</p><p>cements is not significantly different. The use of both nano-SiO<sub>2</sub> and nano-Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub> as an additive can enhance the compressive, flexural and slant shear strengths of hybrid cements. The use of 2%nano-SiO<sub>2</sub> and 2%nano-Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub> is the optimum level for compressive, flexural and slant shear strengths development of hybrid cements paste, which making a homogenous and dense matrix.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Hybrid cements, nano-SiO<sub>2</sub>, nano-Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub>, Mechanical properties, Microstructure</p><p> </p></div> <br /> ธนากร ภูเงินขำ, สกลวรรณ ห่านจิตสุวรรณ์, เสริมศักดิ์ สุขเกษม, เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์, จิระยุทธ สืบสุข Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8919 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 การออกแบบตัวควบคุมสำหรับเครื่องรีดยางพาราอัตโนมัติด้วยฟัซซีลอจิกวิธีใหม่ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8920 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบตัวควบคุมฟัซซีลอจิกวิธีใหม่สำหรับเครื่องรีดยางพาราอัตโนมัติ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ การควบคุมความเร็วของเครื่องรีดยางพาราให้คงที่ เพื่อให้ความหนาของแผ่นยางพาราสม่ำเสมอ ด้วยการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่ใช้สำหรับขับเคลื่อนลูกรีดของเครื่องรีดยางพารา ความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงถูกควบคุมผ่านค่าแรงดันเอาต์พุตของวงจรแปลงผันดีซีเป็นดีซี ซึ่งอาศัยการควบคุมค่าวัฏจักรหน้าที่ด้วยตัวควบคุมฟัซซีลอจิก ตัวควบคุมดังกล่าวได้รับการออกแบบตำแหน่งฟังก์ชันสมาชิกภาพด้วยวิธีการใหม่ นอกจากนี้ บทความนี้ได้นำเสนอการทดสอบระบบควบคุมความเร็วของเครื่องรีดยางพาราด้วยชุดฮาร์ดแวร์ที่สร้างขึ้น ซึ่งผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ตัวควบคุมฟัซซีลอจิกที่มีการออกแบบตามแนวทางที่นำเสนอ สามารถควบคุมความเร็วของเครื่องรีดยางพาราได้ตามต้องการ</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เครื่องรีดยางพารา ตัวควบคุมฟัซซีลอจิก ฟังก์ชันสมาชิกภาพ การควบคุมความเร็ว</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>This paper presents a novel design of fuzzy logic controller for automatic Para rubber rolling machine. The speed control of Para rubber rolling machine is the aim of the paper. The constant speed can provide the constant thickness of the Para sheets. The DC motor connected with the Para rubber rolling machine is the considered system. The duty cycle controlled by fuzzy controller is used to regulate the output voltage of the DC/DC converter. This output voltage is used to control the speed of DC motor. The new design approach of the membership functions for the fuzzy logic controller is proposed in the paper. Moreover, the hardware implementation of the considered system is also presented. The experimental results show that the fuzzy logic controller can control the speed of the Para rubber rolling machine to the desired values.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Para rubber rolling machine, Fuzzy logic controller, Membership function, Speed control</p></div> <br /> ชาคริต ปานแป้น, กองพล อารีรักษ์, กองพัน อารีรักษ์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8920 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 การเพิ่มผลิตภาพของกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอยในการผลิตสีย้อมผ้า https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8922 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพของสีย้อมผ้าประเภทดีดาย โดยการหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย ได้แก่ ขนาดหัวฉีดผงสีและอุณหภูมิของอากาศร้อน ผู้วิจัยทำการทดลองเปรียบเทียบผลิตภาพที่ขนาดหัวฉีด 4 ระดับได้แก่ 2.3 ม.ม. 2.5 ม.ม. 2.75 ม.ม. และ 2.3 ม.ม. 2 หัว และที่ระดับของอุณหภูมิของอากาศร้อน 3 ระดับได้แก่ 100 110 และ 120 องศาเซลเซียส จากนั้นหาระดับของขนาดหัวฉีดผงสีและอุณหภูมิของอากาศร้อนที่สามารถเพิ่มผลิตภาพได้อย่างมีนัยสำคัญโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparisons) ผลการศึกษาพบว่าขนาดหัวฉีดที่เหมาะสมคือ หัวฉีดขนาด 2.5 ม.ม. และอุณหภูมิของอากาศร้อนที่เหมาะสมคือ 110 องศาเซลเซียส โดยให้ค่าผลิตภาพเฉลี่ย 25.42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 28.77 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่ผลิตภาพเป็น 19.74 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ระดับขนาดหัวฉีด 2.3 ม.ม. และอุณหภูมิอากาศร้อน 100 องศาเซลเซียส</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ผลิตภาพ กระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย ขนาดหัวฉีด อุณหภูมิของอากาศร้อน</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT </strong></p> <p>This research aims to increase the productivity of textile dye of D-dye type by finding proper levels of process factors in a spray drying process, which were nozzle diameter hot air temperature. This research performed experiments to compare productivity at 4 levels of nozzle diameter: 2.3 mm., 2.5 mm., 2.75 mm. and 2 nozzles of 2.3 mm. and 3 levels of hot air temperature: 100 <sup>o</sup>C, 110 <sup>o</sup>C and 120 <sup>o</sup>C. Then, Analysis of Variance (ANOVA) and Multiple Comparisons were performed to determine the levels of nozzle diameter and hot air temperature, which can increase the productivity significantly. The result showed that the proper levels were at the nozzle diameter of 2.5 mm. and the hot air temperature of 110 <sup>o</sup>C, which yield the productivity of 22.83%. The productivity was increased 28.77% from 19.74% when using the nozzle diameter of 2.3 mm. and the hot air temperature of 100 <sup>o</sup>C. <strong> </strong></p> <p><strong>Keyword: </strong>Productivity, Spray Drying Process, Nozzle Diameters, Hot Air Temperature <strong> </strong></p></div> <strong><br /></strong> อาภาพร จันทะมาศ, นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8922 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 การประเมินประสิทธิผลมาตรการด้านวิศวกรรมจราจร เพื่อลดความเร็วในการเดินทางเข้าสู่ย่านชุมชน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8923 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้อธิบายถึงการศึกษามาตรการทางด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อลดความเร็วก่อนเข้าเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ริมทางหลวง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดพื้นที่รอยต่อก่อนเข้าเขตชุมชน และเพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการก่อนและหลังดำเนินมาตรการ ชุมชนบ้านป่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกคัดเลือกเป็นพื้นที่ศึกษา มาตรการด้านวิศวกรรมจราจรถูกคัดเลือกโดยจัดทำแนวเส้นเริ่มต้น อักษรลดความเร็วบนผิวทาง ป้ายลดความเร็ว และแนวเส้นขวางบนผิวทางในช่วงลดความเร็วก่อนเข้าสู่ชุมชน ซึ่งระยะเขตรอยต่อการเข้าสู่ชุมชนมีระยะทางรวม 191 เมตร ผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการใช้ความเร็วในการสำรวจครั้งแรกลดลงต่ำกว่าความเร็วก่อนดำเนินมาตรการ ความเร็วที่สำรวจครั้งที่ 2 มีแนวโน้มใกล้เคียงกับความเร็วก่อนดำเนินมาตรการ ผลการประเมินประสิทธิผลก่อนและหลังการดำเนินมาตรการ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเร็วในการเดินทางที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ภายหลังดำเนินมาตรการมีค่าลดลงจากความเร็วก่อนดำเนินมาตรการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95<strong> </strong>อย่างไรก็ตามในการสำรวจครั้งที่สอง พบว่าค่าเฉลี่ยความเร็วในการเดินทางภายหลังดำเนินมาตรการไม่แตกต่างจากความเร็วก่อนดำเนินมาตรการที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>วิธีการประเมินประสิทธิผล เขตรอยต่อ มาตรการลดความเร็ว</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>This paper describes the study of traffic engineering measures to reduce travel speed before entering the communities located on roadside. The purposes of this study are to define the transition zone before entering the communities and to evaluating the effectiveness of the measures before and after the implementation. Ban Payang in Nakhon Si Thammarat was selected as the studied area and traffic engineering measures were implemented by using the pavement markings such as threshold line, the text of reduce speed, reduce speed sign and optical speed bar on deceleration area of transition zone with total length of 191 m. The study results showed that trend of the first speed survey was slower than the speed survey before the implementation, on the other hand trend of the second speed survey showed that it was close to the speed survey before the measures implementation on the transition zone. Effectiveness of traffic engineering measures before and after the implementation was evaluated by Paired sample t-test statistic. The results showed that the average travel speed at 85<sup>th</sup> percentiles of the first survey after the measures implementation decreased from speed survey before the implementation</p></div> ปิติ จันทรุไทย Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8923 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 Calculation of Combustion Products Using 6 Species Equilibrium Model https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8924 <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>An equilibrium model for hydrocarbon combustion calculation is developed. 6 major products in combustion gas are considered in this model. It gives more accurate result than that from low temperature combustion model and it is more simple than 10 species equilibrium model. In the development of the model, Elemental balance equations and equilibrium constant equations are combined to form only one equation requiring numerical solving. Newton-Raphson technique with Laguerre-Samuelson initialization method is applied to find the solution. The simulation result from the model shows that this model can be used to provide the initial values for other models, for example, 10 species model, without temperature and pressure limitations. If the mole fractions of major gas species are needed to know with high accuracy, the model can be employed with temperature and pressure conditions.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Equilibrium constant, Combustion model, Laguerre-Samuelson initialization</p> Sompop Jarungthammachote Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8924 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 กำลังอัดของรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตที่ใช้ซิลิกาฟูมควบแน่นและไม่เสริมเส้นใยเหล็ก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8925 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>รีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตเป็นคอนกรีตกำลังสูงมากชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดยมีซิลิกาฟูมไม่ควบแน่นเป็นหนึ่งในวัสดุหลัก แม้ซิลิกาฟูมไม่ควบแน่นจะมีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ ทำให้เหมาะที่จะเป็นส่วนผสมรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีต แต่ก็เป็นวัสดุที่หายากเพราะฟุ้งกระจายง่ายไม่สะดวกในการขนย้าย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังอัดของรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตที่ใช้ซิลิกาฟูมควบแน่นและไม่เสริมเส้นใยเหล็ก การศึกษานี้ใช้อัตราส่วนซิลิกาฟูมต่อปูนซีเมนต์โดยน้ำหนัก (F/C) เท่ากับร้อยละ 20 25 และ 30 และอัตราส่วนสารลดน้ำยิ่งยวดต่อปูนซีเมนต์โดยน้ำหนัก (SP/C) เท่ากับร้อยละ 2.0 2.5 3.0 3.5 และ 4.0 การทดสอบประกอบด้วยการไหลแผ่และกำลังอัดที่อายุ 3 7 และ 28 วัน จากผลการทดสอบพบว่า กำลังอัดของรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตขึ้นกับปริมาณสารลดน้ำยิ่งยวดและปริมาณซิลิกาฟูม SP/C ที่เหมาะสมสำหรับ F/C ร้อยละ 20 25 และ 30 เท่ากับ ร้อยละ 3.5 2.5 และ 4.0 โดยให้กำลังอัดที่อายุ 28 วันเท่ากับ 1,193 1,140 และ 1,321 ksc ตามลำดับ</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>คอนกรีตกำลังสูงมาก รีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีต กำลังอัด ซิลิกาฟูมควบแน่น</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>Reactive powder concrete (RPC) is an ultra-high strength concrete originally developed using un-densified silica fume as a main material. Although the highly refined particles of un-densified silica fume make it suitable for RPC, un-densified silica fume is not commercially available as it is difficult to handle and transport. This research aims to study the compressive strength of the RPC using densified silica fume without steel fiber. In this study, the ratios of silica fume to cement (F/C) of 20%, 25% and 30% by weight and the ratios of superplasticizer to cement (SP/C) of 2.0%, 2.5%, 3.0%, 3.5%, and 4.0% by weight were considered. The flows and the compressive strengths at 3, 7 and 28 days of the RPC were tested. From the test results, it was found that the compressive strength of the RPC depended on the amounts of superplasticizer and silica fume. The appropriate SP/C for F/C of 20%, 25% and 30% was 3.5%, 2.5%, and 4.0% which gave the 28-day compressive strength of 1,193 1,140, and 1,321 ksc, respectively.</p></div> <p><strong>Keyword: </strong>ultra-high strength concrete, reactive powder concrete, compressive strength, densified silica fume</p> ชัชวาลย์ พัฒนโยธากุล, นิพันธ์ ใหญ่อรุณ, นิดา ชัยมูล, กริสน์ ชัยมูล Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8925 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 ไบโอออยล์จากใบและยอดอ้อยที่ได้จากกระบวนการ ไพโรไลซีสแบบเร็วเชิงเร่งปฏิกิริยาโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบฟอง https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8926 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการผลิตไบโอออยล์ที่ได้จากใบและยอดอ้อยในกระบวนการไพโรไลซีสแบบเร็วในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบฟอง เมื่อไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาพบว่าปริมาณผลได้ไบโอออยล์รวมสูงสุดร้อยละ 62 ได้แก่ ไบโอออยล์หนักร้อยละ 42 และไบโอออยล์เบาร้อยละ 20 โดยน้ำหนักชีวมวล ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ซึ่งมีปริมาณผลได้เชิงพลังงานร้อยละ 47 การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทั้ง 2 มีผลดีต่อค่าความร้อนของไบโอออยล์ โดยค่าความร้อนสูงของไบโอออยล์หนักมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 18 เมกะจูลต่อกิโลกรัม เมื่อไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็น 20 เมกะจูลต่อกิโลกรัม เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์ และเป็น 22 เมกะจูลต่อกิโลกรัม เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาดินขาวเคโอลิน ซึ่งโดโลไมต์ให้ผลดีที่อุณหภูมิเร่งปฏิกิริยาที่ 500 ถึง 550 องศาเซลเซียส ขณะที่ดินขาวเคโอลินเหมาะสำหรับการใช้งานที่ 450 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเหล่านี้ทำให้ได้ปริมาณผลได้เชิงพลังงานของไบโอออยล์ประมาณร้อยละ 30</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ใบและยอดอ้อย โดโลไมต์ ดินขาวเคโอลิน ตัวเร่งปฏิกิริยา ไพโรไลซีสแบบเร็ว</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>In this paper, catalytic fast pyrolysis of sugarcane leaves and tops was carried out in a bubbling fluidised bed reactor for bio-oil production with an aim to investigate the effects of the natural catalysts, namely dolomite and kaolin, on mass and energy yields of the pyrolysis products as well as bio-oil properties. The results showed that without the catalyst, the sugarcane leaves and tops gave a maximum total bio-oil yield of 62 %, corresponding to 42 % heavy bio-oil and 20 % light bio-oil, at the pyrolysis temperature of 500 °C. At this temperature, the bio-oil energy yield was 47 % . The use of both catalysts had a positive impact on bio-oil heating value. The higher heating value (HHV) of the heavy bio-oil was increased from 18 MJ/kg for non-catalytic bio-oil to 20 MJ/kg for dolomite-catalysed bio-oil and to 22 MJ/kg for kaolin-catalysed bio-oil. Dolomite was shown to perform better at 500-550 °C, whereas 450 °C appeared to be more appropriate for kaolin as these catalyst temperatures gave maximum bio-oil energy yields of around 30 %.</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>Keywords</strong><em>:</em> Sugarcane Leaves and Tops, Dolomite, Kaolin, Catalyst, Fast Pyrolysis</p></div> <br /> มนตรี วงค์ศิริวิทยา, อดิศักดิ์ ปัตติยะ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8926 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 การประยุกต์ใช้แบบจำลอง KW-GIUH เพื่อศึกษาการบรรเทาอุทกภัยของเขื่อนแก่งเสือเต้น https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8927 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>ลุ่มน้ำยมเป็นหนึ่งในลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นพื้นที่ที่มักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยซ้ำซากเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะการเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีความรุนแรงและเตรียมการรับมือได้ยาก ประกอบกับพื้นที่ตอนบนซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ไม่มีเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่ใช้ในการกักเก็บน้ำจึงทำให้น้ำจากแม่น้ำยมและน้ำป่าไหลเอ่อล้นเข้าท่วมทางด้านท้ายน้ำได้รับความเสียหายอยู่เสมอ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานแบบจำลอง KW-GIUH ในการจำลองสภาพน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนและนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการบรรเทาอุทกภัยของเขื่อนแก่งเสือเต้น แบบจำลอง KW-GIUH เป็นแบบจำลองอุทกวิทยาที่นำหลักการของ Instantaneous Unit Hydrograph มาประยุกต์ใช้ร่วมกับข้อมูลทางด้านธรณีสัณฐานสำหรับการจำลองสภาพน้ำท่าในแม่น้ำ ผลการจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดที่สถานีตรวจวัดน้ำท่าและตรวจสอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์ Nash-Sutcliffe coefficient จากนั้นนำมาประเมินประสิทธิภาพการบรรเทาอุทกภัยของเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยการประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการประเมินการเคลื่อนตัวของน้ำหลากผ่านอ่างเก็บน้ำที่มีชื่อว่า Puls Storage Indication ในช่วงระหว่างวันที่ 9 – 14 สิงหาคม, 30 สิงหาคม – 4 กันยายน พ.ศ. 2556 และ 30 สิงหาคม – 6 กันยายน พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบน ซึ่งแบบจำลอง KW-GIUH สามารถจำลองสภาพน้ำท่ารายชั่วโมงในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนได้เป็นอย่างดี ส่วนประสิทธิภาพในการลดค่าอัตราการไหลสูงสุดและการเก็บกักปริมาณน้ำหลากของเขื่อนแก่งเสือเต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39% และ 52% ตามลำดับ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>แบบจำลองอุทกวิทยา, KW-GIUH, น้ำท่วม, ลุ่มน้ำยมตอนบน, เขื่อนแก่งเสือเต้น</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>Yom River basin is one of the important basins in Thailand. This basin have incurred flooding for several time especially flash flood that has severe damage and difficult to cope. Because of topography is flat land with a steep slope area and there is no dam or reservoir to storage water in upstream so the water from Yom river and flooding can flow directly to downstream area and cause damage on a regular basis. This research aims to use KW-GIUH model to simulate river runoff in Upper Yom River basin and apply for assessing the effectiveness of flood mitigation of Kaeng Sua Ten dam. KW-GIUH model is hydrological model that use principle of Instantaneous Unit Hydrograph with geological data for river runoff simulation. The result is compared with observation data from station and investigated by Nash-Sutcliffe coefficient index. Then, the effectiveness of flood mitigation of Kaeng Sua Ten dam is assessed by use these result with Puls Storage Indication method during 9-14 August, 30 August - 4 September 2013 and 30 August - 6 September 2013 which flood disaster had occurred in Upper Yom River basin. The results revealed that KW-GIUH model can be simulated hourly runoff in Upper Yom River basin satisfactory. The performance of flood attenuation and flood storage of Kaeng Sua Ten dam are average as 39% and 52% respectively.</p></div> <p><strong>Keyword: </strong>Performance assessment, Hydrological model, Semi-distributed, KW-GIUH, BTOPMC</p><br /> ชาญชัย เพชรพงศ์พันธุ์, ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์, ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์, Kwan Tun Lee Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8927 Mon, 26 Jun 2017 00:00:00 +0000 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศในงานเหล็กเสริม ของระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8957 <div class="WordSection1"><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> </strong>งานวิจัยนี้เป็นการนำแบบจำลองสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Autodesk Revit มาใช้ในงานก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในส่วนงานเหล็กเสริมของชิ้นส่วนสำเร็จรูปเทียบกับผลที่ได้จากการทำงานในรูปแบบทั่วไป โดยรูปแบบทั่วไปนั้นนิยมใช้โปรแกรมเขียนแบบสำเร็จรูป AutoCAD มาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมสำนักงาน Microsoft Excel ในการแสดงรายละเอียดของงานเหล็กเสริมในชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยทำการศึกษาในโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยสูง 8 ชั้น จำนวน 2 หลัง ที่ใช้ระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ผลจากการวิจัยพบว่าในส่วนของการนำแบบจำลองสารสนเทศ มาใช้ในงานเหล็กเสริม ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และลดปัญหาความไม่ชัดเจนของแบบก่อสร้าง ทั้งในขั้นตอนของการถอดปริมาณเหล็กเสริม การผลิต การติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูป โดยยังสามารถนำฐานข้อมูลจากแบบจำลองสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในงานส่วนอื่นๆ ของอาคารได้อีก</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>แบบจำลองสารสนเทศ ชิ้นส่วนสำเร็จรูป โปรแกรมเขียนแบบ</p><p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>This research used Autodesk Revit BIM system to monitor the amount of reinforcing steel in the prefabricated reinforce concrete elements. Comparison is then made with results obtained from Auto CAD and Microsoft Excel conventional method normally used in the Reinforcing Steel Work for Precast Concrete System. The concrete elements are part of a construction project to built two 8-storey condominium buildings. It is found that the application of Autodesk Revit BIM system offers superior performance in material and cost estimations, construction and installation in the following aspects; faster, more design clarity, and convenient. Additional benefits include uses of database in other buildings’ applications.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Building Information Modeling (BIM), Precast Concrete, Drawing Software Program</p></div> <br /> ณรงค์ศักดิ์ นิ่มนวล, อิทธิพร ศิริสวัสดิ์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8957 Fri, 30 Jun 2017 00:00:00 +0000 editor board https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8889 editor board Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8889 Mon, 19 Jun 2017 00:00:00 +0000 Life Cycle of Productivity Improvement Activity https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8958 <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The objective of this article is to propose life cycle of productivity improvement activity.<strong> </strong>In each phase of the cycle, major characteristics and suggestions are discussed to attain efficient and sustainable application. Productivity improvement activities has life cycle and unique characteristics in each phase. The paper is one of the first to link life cycle concept to improvement activity. It can be used as a fundamental study for academia to further research in this integrated area and for practitioners to efficiently and sustainably implement such activity.<strong></strong></p> <p><strong>Keyword: </strong>Productivity Improvement Activity, Life Cycle, Sustainable Development, Characteristic</p> Assadej Vanichchinchai Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8958 Fri, 30 Jun 2017 00:00:00 +0000 การประยุกต์ใช้เทคนิคเจ็ตสเปาต์เต็ดเบดร่วมกับคลื่นอัลตร้าซาวด์สำหรับอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8959 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนผลงานวิจัยและความเป็นไปได้ของการอบแห้งผลผลิตทางการเกษตรโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคเจ็ตสเปาต์เต็ดเบดร่วมกับคลื่นอัลตร้าซาวด์ อันดับแรกนำเสนอทฤษฎีเจ็ตสเปาต์เต็ดเบดคลื่นอัลตร้าซาวด์และทฤษฎีการอบแห้งความสัมพันธ์ระหว่างความดันตกคร่อมเบดกับความเร็วอากาศ ความเร็วอากาศต่ำสุดในการเกิดสเปาต์ปรากฏการณ์แควิเตชัน ต่อมาศึกษาผลกระทบของตัวแปรที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้งประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การประยุกต์ใช้งานเทคนิคเจ็ตสเปาต์เต็ดเบดและคลื่นอัลตร้าซาวด์ในกระบวนการอบแห้งต่อมานำเสนอการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งพัฒนามาจากกฎของฟิค(Fick’s law) และกฎการเย็นตัวของนิวตัน (Newton's law) สำหรับวิเคราะห์กระบวนการการถ่ายโอนความร้อนและควบคุมกระบวนการอบแห้ง ช่วยให้ผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้หรือนำไปผสมผสานกับเทคนิคการอบแห้งแบบอื่นๆต่อไป</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เจตสเปาต์เต็ดเบด ,คลื่นอัลตร้าซาวด์,จลนพลศาสตร์การอบแห้ง</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The purpose of this study was to review the research find and possibility of drying agricultural products via a combine Jet spouted bed and Ultrasound. First, the survey began to study theorem of Jet spouted bed with Ultrasound waves and theorem of drying, the relationship between pressure drop and air velocity, Minimum spouting velocity and Cavitations’ phenomenon. Subsequently, studied the impact of the variable on the drying kinetics, the energy efficiency and application techniques jet spouted bed and ultrasound waves in the drying process.Then, mathematical modeling based on Fick’s law and Newton’s law of cooling was developed and analyzed for the heat transfer and drying process control. The article is expected to be beneficial for those who are interested so that they can apply this hybrid drying or combine it with other drying methods.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Jet spouted bed, Ultrasound waves, Drying kinetics</p> โพธิ์ทอง ปราณีตพลกรัง, กิตติ สถาพรประสาธน์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8959 Fri, 30 Jun 2017 00:00:00 +0000 การคำนวณการกระจายของการตกตะกอนในอ่างเก็บน้ำ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8960 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาการกระจายของการตกตะกอนมีความจำเป็นเพื่อคาดคะเนอายุการใช้งานของอ่างเก็บน้ำ และเป็นขั้นตอนสำคัญของการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ วิธีเอมไพริกัลสามารถใช้หาโค้งปริมาตรเก็บกักระดับ (Storage-Elevation Curve) ของอ่างเก็บน้ำที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการตกตะกอนได้ แต่ยังไม่สามารถทำนายการกระจายของการตกตะกอนในอ่างเก็บน้ำได้ บทความนี้จึงนำเสนอวิธีการคำนวณโดยวิธีเอมไพริกัล (Empirical Method) ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีอนาลิทตริกัล ด้วยโปรแกรมแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) ทั่วไป โดยใช้ข้อมูล แผนที่ชั้นความสูง 1:50,000 ตัวอย่างตะกอน และปริมาณตะกอนต่อปีที่ไหลเข้าอ่าง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้งาน การบำรุงรักษา และการจัดการน้ำเบื้องต้นในอ่างเก็บน้ำ เช่น การทำนายอายุการใช้งานของสถานีสูบน้ำ หรือการเลือกบริเวณที่ควรสร้างสถานีสูบน้ำ การเลือกร่องน้ำลึกเพื่อการคมนาคม, การประเมินอายุการใช้งานของอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การตกตะกอน การกระจายการตกตะกอน การวางแผนจัดการอ่างเก็บน้ำ การศึกษาความเป็นไปได้ การขุดลอกอ่างเก็บน้ำ</p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The study of sediment distribution in reservoir is an important step for the feasibility study on the construction and estimation the life of the reservoir. Storage-elevation curve of the basin changes due to sedimentation can be estimated using empirical method. Nevertheless, this method cannot be used to predict sediment distribution in reservoir. This paper presents a computation method for predicting sediment distribution in reservoir using empirical method (as oppose to analytical). Input data are 1:50,000 contour map, sediment sample and annual estimation of sediment load. The computation can be done in spreadsheet. This results provide a basic knowledge of reservoir management (planning, using, and maintenance) such as prediction of pumping stations’ useful life, selection of navigation channel, and assessment of reservoir life.</p> <p><strong>Keyword: </strong>Sedimentation, Sediment Distribution, Reservoir Management, Feasibility Study, Reservoir Dredging</p> สัจจะ เสถบุตร, สุธิดา ทีปรักษพันธุ์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SwuENGj/article/view/8960 Fri, 30 Jun 2017 00:00:00 +0000