การเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดซื้อด้วยการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย

Authors

  • นพปฎล สุวรรณทรัพย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
  • มณฑลี ศาสนนันทน์

Abstract

ABSTRACTAircraft maintenance industry is facing some problems in MRO Procurement. Supplier Relationship Management (SRM) is one of the main activities which playing an important role in improving purchasing performance. However, there is no evidence yet to prove this application in the aircraft maintenance industry. The objective of this paper is to study different SRM types, and their impacts on purchasing performance in the aircraft maintenance industry of Thailand, and to build a conceptual model of SRM types which suited to the aircraft maintenance industry. Data were collected from specialists from 10 organisations, 2 people from each organisation by using Delphi method. The results showed that there are two main SRM types used in aircraft maintenance industry - arm’s-length SRM and cooperative SRM practices. Arm’s-length SRM is suitable to employ for consumable parts. It improves purchasing performance in reducing sales price. On the other hand, cooperative SRM is suitable to employ for first priority parts which are expensive and mostly are also repairable parts. It improves purchasing performance in reducing transportation and administrative costs, responding to customer demands and changes efficiently, reducing the lead-times, and improving the goods quality.Keywords: supplier relationship management, purchasing performance, aircraft maintenance, Delphi technique.บทคัดย่ออุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานในประเทศไทย ยังคงประสบปัญหาในเรื่องของการจัดซื้อจัดหาที่มีประสิทธิภาพ การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพทางการจัดซื้อ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันสำหรับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย และผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางการจัดซื้อ สำหรับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างกรอบแนวคิดด้านการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายที่เหมาะสม ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบเดลฟาย กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดซื้อ จากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน จำนวน 10 องค์กร องค์กรละ 2 ท่าน จากการศึกษาพบว่า การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายในอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน มี 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การจัดการความสัมพันธ์แบบผิวเผิน และการจัดการความสัมพันธ์แบบร่วมมือ โดยการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายแบบผิวเผิน จะเหมาะสมกับสินค้าที่มีความสำคัญต่ออากาศยานน้อย มีจำหน่ายทั่วไป เป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป (Consumable Parts) ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดซื้อในเรื่องของต้นทุนราคาสินค้าเป็นหลัก ในขณะที่การจัดการความสัมพันธ์แบบร่วมมือ จะเหมาะสมกับสินค้าที่มีความสำคัญต่ออากาศยานสูง (First Priority Parts) มีมูลค่าสูง และส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ซ่อมบำรุงได้ (Repairable Parts) โดยความสัมพันธ์ในรูปแบบดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดซื้อในเรื่องของต้นทุนการขนส่งสินค้า และต้นทุนในการสั่งซื้อ เพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการตอบสนองการสั่งซื้อ ประสิทธิภาพทางการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านคุณภาพของสินค้าและผู้จำหน่าย      คำสำคัญ: การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย ประสิทธิภาพทางการจัดซื้อ การซ่อมบำรุงอากาศยาน เดลฟายเทคนิค 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-07-02