การประเมินประสิทธิผลมาตรการด้านวิศวกรรมจราจร เพื่อลดความเร็วในการเดินทางเข้าสู่ย่านชุมชน

Authors

  • ปิติ จันทรุไทย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช 80280

Abstract

บทคัดย่อ บทความนี้อธิบายถึงการศึกษามาตรการทางด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อลดความเร็วก่อนเข้าเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ริมทางหลวง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดพื้นที่รอยต่อก่อนเข้าเขตชุมชน และเพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการก่อนและหลังดำเนินมาตรการ ชุมชนบ้านป่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกคัดเลือกเป็นพื้นที่ศึกษา มาตรการด้านวิศวกรรมจราจรถูกคัดเลือกโดยจัดทำแนวเส้นเริ่มต้น อักษรลดความเร็วบนผิวทาง ป้ายลดความเร็ว และแนวเส้นขวางบนผิวทางในช่วงลดความเร็วก่อนเข้าสู่ชุมชน ซึ่งระยะเขตรอยต่อการเข้าสู่ชุมชนมีระยะทางรวม 191 เมตร ผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการใช้ความเร็วในการสำรวจครั้งแรกลดลงต่ำกว่าความเร็วก่อนดำเนินมาตรการ ความเร็วที่สำรวจครั้งที่ 2 มีแนวโน้มใกล้เคียงกับความเร็วก่อนดำเนินมาตรการ ผลการประเมินประสิทธิผลก่อนและหลังการดำเนินมาตรการ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเร็วในการเดินทางที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ภายหลังดำเนินมาตรการมีค่าลดลงจากความเร็วก่อนดำเนินมาตรการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อย่างไรก็ตามในการสำรวจครั้งที่สอง พบว่าค่าเฉลี่ยความเร็วในการเดินทางภายหลังดำเนินมาตรการไม่แตกต่างจากความเร็วก่อนดำเนินมาตรการที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คำสำคัญ: วิธีการประเมินประสิทธิผล เขตรอยต่อ มาตรการลดความเร็ว ABSTRACT This paper describes the study of traffic engineering measures to reduce travel speed before entering the communities located on roadside. The purposes of this study are to define the transition zone before entering the communities and to evaluating the effectiveness of the measures before and after the implementation. Ban Payang in Nakhon Si Thammarat was selected as the studied area and traffic engineering measures were implemented by using the pavement markings such as threshold line, the text of reduce speed, reduce speed sign and optical speed bar on deceleration area of transition zone with total length of 191 m. The study results showed that trend of the first speed survey was slower than the speed survey before the implementation, on the other hand trend of the second speed survey showed that it was close to the speed survey before the measures implementation on the transition zone. Effectiveness of traffic engineering measures before and after the implementation was evaluated by Paired sample t-test statistic. The results showed that the average travel speed at 85th percentiles of the first survey after the measures implementation decreased from speed survey before the implementation

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-26