ผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณผลผลิตน้ำมัน คุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากน้ำมันเมล็ดมะละกอ (EFFECT OF EXTRACTION METHODS ON RECOVERY OF OIL CHEMICAL PROPERTIES AND ANTIOXIDANT ACTIVITIES OF PAPAYA SEED OIL)
Abstract
วิธีการสกัดเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันที่สกัดได้ การสกัดแบบใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยสกัดเป็นวิธีการสกัดทางเลือกที่ช่วยลดอุณหภูมิและเวลาในการสกัด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของวิธีการสกัดที่แตกต่างกันต่อปริมาณ สมบัติทางเคมีที่แสดงถึงคุณภาพของน้ำมัน (Acid Value; AV หรือ Free Fatty Acid; FFA, Peroxide Value; PV, p-Anisidine Value; p-AV และ Iodine Value; IV) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันเมล็ดมะละกอที่สกัดได้ (ปริมาณสารประกอบฟีนอล การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS) โดยวิธีการสกัดที่ทำการศึกษา ได้แก่ การสกัดแบบแช่ที่ 30๐C (ML) การสกัดแบบแช่ที่ 58๐C (MH) การสกัดแบบรีฟลักซ์ (RE) และการสกัดแบบใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยสกัด (UAE) จากการทดลองพบว่า วิธีการสกัดแบบ MH ให้ผลผลิตน้ำมันสูงที่สุด ตามด้วยวิธีการสกัดแบบ ML, RE และ UAE วิธีการสกัดที่แตกต่างกันส่งผลให้น้ำมันที่ได้มีคุณภาพทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ยกเว้นค่า Iodine Value (IV) โดยวิธีการสกัดแบบ UAE ให้น้ำมันที่มีคุณภาพทางเคมีดีที่สุด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันที่สกัดด้วยวิธีต่างๆ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ในขณะที่วิธีการสกัดแบบ RE ให้น้ำมันที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด จากการทดลองพบว่า วิธีการสกัดแบบ UAE เป็นวิธีการสกัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อพิจารณาจากปริมาณน้ำมันที่สกัดได้ คุณภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันที่สกัดได้คำสำคัญ: น้ำมันเมล็ดมะละกอ การสกัดแบบใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยสกัด สมบัติทางเคมีของน้ำมัน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระExtraction method was an important factor affecting quality and antioxidant activity of oil recovery. Ultrasound-assisted extraction is an alternative method to traditional approaches because it reduces extraction temperature and time. The objective of this research was to compare the effect of different extraction methods on recovery of oil, chemical properties associated with quality of oil (Acid Value; AV or Free Fatty Acid; FFA, Peroxide Value; PV, p-Anisidine Value; p-AV and Iodine Value; IV) and antioxidant activity (total phenolic compounds, DPPH and ABTS). Extraction method include maceration at 30๐C (ML), maceration at 58๐C, reflux (RE) and ultrasound-assisted extraction (UAE). The results revealed that MH gave the highest oil yield, followed by ML, RE and UAE, respectively. Chemical properties and antioxidant activities of oil extracted from different methods were significantly different. Oil obtained from UAE was the most superior to the others in terms of chemical properties while refluxed oil showed the highest antioxidant activities. The result leaded to conclude that UAE was the most effective method in terms of oil yield, chemical qualities and antioxidant activities of the oil recovered.Keywords: Papaya Seeds Oil, Ultrasound-Assisted Extraction, Chemical Property of Oil, Antioxidant ActivityDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-12-30
How to Cite
หนุนยศ ห., สุวพานิช ร., & บรรจง ก. (2018). ผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณผลผลิตน้ำมัน คุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากน้ำมันเมล็ดมะละกอ (EFFECT OF EXTRACTION METHODS ON RECOVERY OF OIL CHEMICAL PROPERTIES AND ANTIOXIDANT ACTIVITIES OF PAPAYA SEED OIL). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(20, July-December), 140–152. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/10874
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.