การศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ณัฐฐินันท์ พิมพาทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มฤษฏ์ แก้วจินดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์แบบประเมินฉลาดทางอารมณ์ (EQ) แบบรายงานความประพฤตินักเรียนใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pretest and Posttest Control Group Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ สถิติ Wilcoxon Matched - Pairs Signed-Ranks Test and Mann - Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมใช้โปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีคะแนนเฉลี่ยในระดับปกติและสูงกว่าปกติ ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีคะแนนเฉลี่ยในระดับต่ำกว่าปกติ และผลการเปรียบเทียบคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า หลังจากนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังดำเนินการโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-07-14