การบริหารกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับผู้เรียนออทิสติก และผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กรณีศึกษา ศูนย์อาชีพออทิสติกไทย
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับผู้เรียนฯ ภายในศูนย์อาชีพมูลนิธิออทิสติกไทย จัดทำ ศึกษาผลและศึกษาข้อเสนอเกี่ยวกับการนำแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับผู้เรียนฯ ไปสู่การปฏิบัติ วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน คือ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และพรรณนาข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานฯ ภายในศูนย์อาชีพมูลนิธิออทิสติกไทย มีการดำเนินงานบริหารกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการประชุมวางแผน จากนั้นนำมาปฏิบัติ โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีการประเมินผลตามแผนเพื่อให้งานมีประสิทธิผลมากที่สุด และสามารถนำผลที่ได้ ไปปรับปรุงแก้ไขได้ แต่ยังพบปัญหา คือ ผู้เกี่ยวข้องไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการอย่างครอบคลุม ยังขาดการประสานงาน การบริหารกิจกรรมบางอย่างไม่ชัดเจน ครูและผู้เกี่ยวข้องยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่อีกทั้ง ยังขาดการนิเทศที่เป็นระบบและสม่ำเสมอ เน้นการประเมินผลที่ผู้เรียนแต่ไม่มีการประเมินผลด้านการบริหารจัดการ 2) ผลการพัฒนาและจัดทำแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนฯ พบว่า มี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การนิเทศ กำกับ ติดตาม การประเมินผล และการปรับปรุงผลการดำเนินงาน โดยมีระบบสนับสนุน ได้แก่ การจัดบุคลากรที่มีความรู้และรับผิดชอบอย่างเพียงพอ การจัดสื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเทคโนโลยีการสอนที่มีมาตรฐานและทันสมัย เพื่อการพัฒนาและต่อยอดสู่ทักษะพื้นฐานอาชีพได้ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะดวก ปลอดภัยต่อผู้เรียน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน 3) ผลการนำแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับผู้เรียนฯ ไปสู่การปฏิบัติ คือ จัดให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนทรัพยากร ทั้งด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สถานที่ สื่อการเรียนรู้ และอุปกรณ์ที่หลากหลาย ผู้สอนได้รับการพัฒนา อบรมและมีการนิเทศในระหว่างการทำงาน ให้มีความรู้ ทักษะและเจตคติที่ถูกต้องในการสอนทักษะพื้นฐานแก่ผู้เรียน มีการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะอย่างสม่ำเสมอตามตาราง และได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการประชุมชี้แจงครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าใจบทบาทของผู้เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับผู้เรียนฯ ไปใช้ คือ ในการเตรียมความพร้อม ควรมีการอบรมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะและมีเจตคติที่ถูกต้องต่อผู้เรียน และควรมีทักษะในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมและการวัดประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายให้เหมาะสมสำหรับผู้เรียนฯ นอกจากนี้ ควรปรับปรุงโดยให้มีการกำกับติดตามที่สม่ำเสมอและสะท้อนผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทุกครั้ง ควรมีกิจกรรมการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้คำชมและรางวัลในรูปแบบต่าง ๆ แก่ครูผู้สอนและผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และควรปรับปรุงให้มีการประเมินสรุปผลเป็นระยะ และนำผลเผยแพร่ต่อผู้เกี่ยวข้องหรือสาธารณชน รวมทั้งนำข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนมาพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: ทักษะพื้นฐาน, การบริหารกิจกรรม, ออทิสติก, ความบกพร่องทางการเรียนรู้, ศูนย์อาชีพออทิสติกไทย Abstract This research aims to (1) study the actual situation, (2) establish guidelines (3) study the result of implementing the guidelines and (4) study the recommendations, for administering of activities developing basic skills for students with autism, and students with learning disabilities in Autistic Thai Foundation. The research methods were mix methodology by group discussion and questionnaire. The sample group consisted of administrator and teachers. Research tools is a group discussion question, a suitability assessment form and data record form. Analyze the data using basic statistics and content analyze. The results illustrate that 1) the actual situation on administering activities developing basic skills for students with autism, and learning disabilities, is based on systematic framework, step-by-step, starting with a meeting to define the plan for activities. Furthermore, the plan has been subsequently implemented, by advertisement, giving direction, and follow-up to be able to define the root causes, and provide the optimal and proper solutions as well as an evaluation of activities. After activities implemented, the results will be discussed for improvement to define the better plan and future implementation. Some issues found are lack of involvement in the planning step, unclear administering activities, lack of experiences from teachers/trainers on the activities. Moreover, lack of consistency on advertisement, and no implementation on improvement recommended are also the following issues. 2) The results on development and defining framework on administering activities developing basic skills for students with autism, and learning disabilities, show that there are 5 steps consisting of (i) planning and implementation, (iii) advertisement, giving direction and follow-up, (iv) evaluation, and (v) development – supported by experts and responsible persons, supporting tools on modern education. This expects to standardize for future development on basic occupation and organize the learning environment i.e. comfortable, safety as well as a clear description on responsible persons. 3) The results shows that involvement of teachers from the beginning since planning, will get a full support physically, places, tools required. Teachers will also be improved - i.e. technical skills, and right attitude for providing educations. Moreover, cooperation among stakeholders will be smoother and faster. In parallel, students have also received a skill development in consistency according to scheduling, and actual practice. Therefore, with these results, another positive impact from outside which is from the meeting with all team members to have a full cooperation for a systematic framework and supports. 4) Recommendations are (i) trainings / coaching to teachers are required to have an enough and right knowledge, skills and attitude – to have the optimal solutions for students as individual. (ii) giving rewards to teachers to acknowledge good and bad; (iii) evaluation in right occasions – i.e. monthly / quarterly, and (iv) publish the results to get comments / feedbacks from public for the sustainable, future development. Keywords: Basic Skills, Activity Management, Autistic, Learning Disabilities, Thai Autistic Career CenterDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Research article