การศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ ในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) (A Study on Social Skills of the -)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ ในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีศึกษาโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ ในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีศึกษาโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำแนกตามเพศและระดับชั้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในโครงการศูนย์ศักยวิโรฒ ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 45 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทักษะทางสังคม ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ ระดับชั้น ตอนที่ 2 แบบสอบถามทักษะทางสังคม ได้แก่ ด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ด้านการควบคุมทางอารมณ์ด้านการสื่อสาร และด้านการเข้าร่วมกิจกรรม และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะทางสังคม ด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ด้านการควบคุมทางอารมณ์ ด้านการสื่อสาร และด้านการเข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง และ 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะทางสังคม เมื่อจำแนกตามเพศและจำแนกตามระดับชั้น พบว่า นักเรียนเพศหญิงและเพศชาย มีทักษะทางสังคม ไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทักษะทางสังคมด้านการควบคุมอารมณ์ และด้านการสื่อสาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Abstract The main purposes of this study were 1) to investigate social skill of mainstreaming education model for student with special needs: case study Sakkayawirot Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) and 2) To compare social skill of mainstreaming education model for student with special needs: case study Sakkayawirot Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) in different genders and grade levels. The participants purpose of this study were mainstreaming education model for student with special needs: case study Sakkayawirot Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary). These were 45 students with special needs secondary 1-6. The instrument, a three-part social skill questionnaire, composes of Part 1: personal Data; Part 2: Social skill i.e., emotional expression, emotional self-regulation, communication, and activity participation; and part 3: conclusion and Recommendation. The research results were as found 1) the social skills consist of: emotional expression, emotional self-regulation, communication and activity participation had an average performance level. 2) It was found that male and female were not different in social skill the .05. The difference in emotional self-regulation and communication were statically significant at the .05.Downloads
Download data is not yet available.