มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ศึกษากรณี สินค้าด้อยคุณภาพร้านทุกอย่างยี่สิบบาท

Legal Measures on Consumer Protection Study the Case of Inferior Products. (A Shop that sells all items for a price of twenty baht)

Authors

  • ปภาวี เนียมทับ Paprawee Niamtup นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต Master of Laws Program in Law Sustainable Development (LL.M.), Rattana Bundit University
  • ขนิษฐา สุขสวัสดิ์ Khanittha Sooksawad ผู้ช่วยอธิการบดี คณะนิติศาสตร์และการปกครอง มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต Faculty of Law and Government Rattana Bundit University
  • สุรพล สินธุนาวา Suraphol Sintunava อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต Faculty of Law and Government Rattana Bundit University

Keywords:

คุ้มครองผู้บริโภค สินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าด้อยคุณภาพ, Consumer protection, Substandard products, Inferior quality products

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผลิตและใช้สินค้าด้อยคุณภาพ 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องเสียหายจากการใช้สินค้า ด้อยคุณภาพ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้ครอบคลุมถึงการผลิต การจำหน่าย และการนำเข้าสินค้าด้อยคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจุบันกระบวนการผลิตสินค้ามีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและสินค้าที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้นสามารถก่อความเสียหาย ๆ ได้มากกว่าสินค้าพื้นฐาน อีกทั้งระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปโดยสินค้าชิ้นหนึ่งอาจมีผู้ผลิตส่วนประกอบหลายอย่าง และผ่านมือผู้จัดจำหน่ายผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีกอีกหลายรายกว่าจะมาถึงผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค ดังนั้นผู้ซื้อจึงไม่อาจใช้ความระวังที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ หรือหากผู้ซื้อจะต้องหาข้อมูลดังกล่าว ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง จึงทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม และได้รับความเดือดร้อนจากการใช้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ก็มิได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค และแม้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้บริโภคในทางแพ่งได้ แต่การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคก็ใช้หลักการของการดำเนินคดีละเมิดทั่วไปจึงไม่ก่อให้เกิดการเยียวยาแก่ผู้เสียหายได้อย่างเป็นธรรม ส่วนกฎหมายควบคุมสินค้าบางชนิดที่มีลักษณะเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2510 ก็เป็นกฎหมายควบคุมเฉพาะสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายเท่านั้น ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับอาหารและยาก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดเรื่องการขอใบอนุญาตสำหรับผลิตและจำหน่ายโดยไม่ได้กำหนดความรับผิดทางแพ่ง ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวนี้จึงต่างมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถให้ความคุ้มครองและเยียวยาแก่ผู้เสียหายได้เท่าที่ควร ระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ (Common Law) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อเยียวยาความเสียหายจากการบริโภคสินค้าไม่ได้มาตรฐาน (Defective Products) ในลักษณะเป็นการปรับกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคThe Consumer Protection (Fair Trading) Act (Cap. 52A), 2012 ซึ่งได้วางแนวทางที่สำคัญอันจึงควรนำมาปรับใช้กับกฎหมายของประเทศไทยเพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน (Defective Product) ได้ดียิ่งขึ้นและนำไปสู่การพัฒนากฎหมายของประเทศไทยต่อไป Abstract The objectives of this research are 1) to study the problems and impacts resulting from the production and use of inferior products 2) to study legal measures regarding the protection of consumers who are damaged using inferior products 3) to Study and find ways to improve Amending the Consumer Protection Act B.E. 2522 to cover the production, sale, and importation of inferior products. The results of the research concluded that The Consumer Protection Act 2019 also does not define the relationship between producers and consumers. And even though the Consumer Protection Board has the authority to take legal action on behalf of consumers in civil cases But filing a lawsuit to claim damages on behalf of a consumer uses the principles of general tort litigation and thus does not provide fair relief to the injured person. While the common law system of the United States has been used as a legal measure to compensate for damages from the consumption of substandard products. In the nature of adjusting the law regarding consumer protection. This has laid down important guidelines that should be applied to Thai law to achieve consistency in better protecting consumers from substandard products and lead to further development of Thai law. The definition in Section 3 should be amended and added in Section 2, Section 1, adding Section 1/2 to add the definition of the word “Inferior quality products” and “Committee on inferior quality products” and adding sections 29/18, 29/19, 29/20, 29/21

Downloads

Published

2024-06-20

How to Cite

Paprawee Niamtup ป. เ., Khanittha Sooksawad ข. ส., & Suraphol Sintunava ส. ส. (2024). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ศึกษากรณี สินค้าด้อยคุณภาพร้านทุกอย่างยี่สิบบาท: Legal Measures on Consumer Protection Study the Case of Inferior Products. (A Shop that sells all items for a price of twenty baht). วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1(1), 20–40. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/16013