ผลของโปรแกรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนวัยรุ่น THE EFFECTS OF PSYCHOLOGICAL PROGRAM TO ENHANCE PROBLEM SOLVING OF ADOLESCENT STUDENTS

Main Article Content

สุภัทรา พานิชนาวา
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
จุฑามาศ แหนจอน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดระยองที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 60 คน สุ่มจำแนกเข้ากลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง รวม 8 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลหลังการทดลอง 3 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหา 2)แบบวัดการคิดแก้ปัญหาทางสังคมฉบับปรับปรุงแบบสั้น (SPSI-R short from) และ 3) แบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้งเวอร์ชัน 128 การ์ด (WCST-128) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการคิดแก้ปัญหาในระยะหลังทดลองและติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนการคิดแก้ปัญหาในระยะหลังการทดลองและติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
พานิชนาวา ส., ทรัพย์วิระปกรณ์ ว. ., & แหนจอน จ. . (2024). ผลของโปรแกรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนวัยรุ่น: THE EFFECTS OF PSYCHOLOGICAL PROGRAM TO ENHANCE PROBLEM SOLVING OF ADOLESCENT STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 137–152. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16259
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จุฑามาศ แหนจอน. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาต่อการเพิ่ม การคิดแก้ปัญหาทางสังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 98-112.

จุฑามาศ แหนจอน. (2562). จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive psychology) (พิมพ์ครั้งที่ 2 ed.). กรุงเทพฯ: แกรนด์พอยท์วรัตถ์พัชร์ ทวีเจริญกิจ.

สุภัทรา ตันติวิทยมาศ. (2555). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณด้วยแผนผังมโนทัศน์ของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์. (2563). ความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(2), 193-203.

อัครภูมิ จารุภากร, & พรพิไล เลิศวิชา. (2551). สมอง เรียน รู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้

Chang, S., Hou, Q., Wang, C., Wang, M., Wang, L., & Zhang, W. (2021). Childhood maltreatment and violent delinquency in Chinese juvenile offenders: Callous-unemotional traits as a mediator. Child Abuse & Neglect, 117, 105085.

D'Zurilla, T. J., & Chang, E. C. (1995). The relations between social problem solving and coping. Cognitive Therapy and Research, 19(5), 547-562.

D'Zurilla, T. J., & Nezu, A. M. (1988). On problems, problem solving, blue devils, and snow: A reply to Krauskopf and Heppner (1988). The Counseling Psychologist, 16(4), 671-675.

Most read articles by the same author(s)