การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเคลื่อนไหวท่าทางประกอบเพลงให้สอดคล้องกับจังหวะ และจินตนาการ โดยจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ A STUDY OF THE ACHIEVEMENT OF MUSIC AND MOVEMENT IN ACCORDANCE WITH THE RHYTHM AND IMAGINATION BY BASED ON DALCROZE APPROACH TO MUSIC EDUCATION AMONG THE SECOND GRADERS OF WATLANBOON SCHOOL

Main Article Content

วาทิตยา กระแสร์นาค
สิชฌน์เศก ย่านเดิม

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเคลื่อนไหวท่าทางประกอบเพลงให้สอดคล้องกับจังหวะและจินตนาการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซ (Emile Jaques Dalcroze) ของนักเรียนโรงเรียนวัดลานบุญ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนวัดลานบุญที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชุมนุมดนตรีสากลชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 1 แผน / 8 คาบ คาบละ 60 นาที ใช้ระยะเวลา 2 ชั่วโมง/ครั้ง เป็นจำนวน 4 ครั้ง แบบสังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนไหวท่าทางประกอบเพลง (ภาคปฏิบัติ) และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทั้งหมด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเคลื่อนไหวท่าทางประกอบเพลงให้สอดคล้องกับจังหวะและจินตนาการโดยจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซ ผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ร้อยละ 80 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (M=2.84) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD=.070

Article Details

How to Cite
กระแสร์นาค ว., & ย่านเดิม ส. . (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเคลื่อนไหวท่าทางประกอบเพลงให้สอดคล้องกับจังหวะ และจินตนาการ โดยจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ: A STUDY OF THE ACHIEVEMENT OF MUSIC AND MOVEMENT IN ACCORDANCE WITH THE RHYTHM AND IMAGINATION BY BASED ON DALCROZE APPROACH TO MUSIC EDUCATION AMONG THE SECOND GRADERS OF WATLANBOON SCHOOL. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 169–181. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16250
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Caldwell, J.T. (1993). A dalcroze perspective on skills for learning music. Music Educators Journal 79, 27-28.

Chokhy, L., Abramson R.M., Gillespie, A.E., Wood, D. & York, F. (2001). Teaching music in the twenty-first century. New Jersey: Prentice-Hall.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิรภัทร์ ถิ่นทะเล และสิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโสตทักษะทางดนตรี ตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนขับร้องประสานเสียง โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 6(2), 31-41.

ชินวัตร อ่อนสุ่น และอังคณา อ่อนธานี. (2567). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(2), 753-768

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์แห่’ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีรัตน์ อุปถัมภ์โพธิ์วัฒน์. (2552). มหัศจรรย์ ONE TO FIVE ไม่มีใครในโลกเล่นเปียโนไม่ได้. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

ธวัชชัย นาควงษ์. (2543). การสอนดนตรีสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นํ้าลิน เทียมแก้ว. (2558). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2557. รายงานการวิจัย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.