ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 FACTOR AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL-COMMUNITY RELATIONSHIP WORK OF EDUCATION INSTITUTIONS UNDER UTHAITHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

Main Article Content

นิพนธ์ ฉัตรอักษรานนท์
จารุนันท์ ขวัญแน่น

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงาน กับงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา และ 5) หาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 302 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน สุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้เชี่ยวชาญ 17 ท่าน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ Stepwise และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงาน กับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา สามารถทำนายประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษา คือ ผู้บริหารควรเผยแพร่ผลงานด้านวิชาการ การเป็นแบบอย่างที่ดีของครูและบุคลากร และสร้างความตระหนักในการผลิตผลงาน และการเผยแพร่ผลงานที่เป็นเชิงประจักษ์

Article Details

How to Cite
ฉัตรอักษรานนท์ น. ., & ขวัญแน่น จ. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2: FACTOR AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL-COMMUNITY RELATIONSHIP WORK OF EDUCATION INSTITUTIONS UNDER UTHAITHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 153–168. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16239
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

คณิต ธัญญะภูมิ. (2558). รูปแบบการนำนโยบายการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คนึงนิจ กฤษนาม. (2553). การบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในเครือข่ายวังจันทร์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย บูรพา.

จรรยาพร วิวัฒน์บวรกุล. (2559). แนวทางการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ทินกร คลังจินดา. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา วีระพันธ์. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัวไลยอลงกรณ์ในกระราชูปถัมภ์.

นนทนัฎดา ว่องประจันทร์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปฏิภาณ ศาสตร์อำนวย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, ภาควิชาการ บริหาการศึกษา. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

พัชรี เหลืองอุดม. (2554). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. วิทยานินพธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วีรนุช มาแก้ว. (2556). การศึกษาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรังสิต.

สิริยุพา บุญเพิ่ม. (2558). การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. (2566). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2565. กลุ่มนโยบายและแผน. เอกสารลำดับที่ 14/2566.

ศุภรัตน์ ปุ้งข้อ. (2558). สภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เรืองชัย ปริบาล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยใช้การบริหารโรงเรียนเป็นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรณี สวนทะโชติ (2554). การสร้างและแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน บ้านหนองประโยชน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Miskel, et al. (1983). David Mc Donald and Susan Bloom. Structural and Expectancy Linkages within School and Organizational Effectiveness. Educational Administration Quarterly. 19(1), 49-82.