รูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย THE MENAGEMENT MODEL FOR CONTINUOUS AND LINKING CURRICULUM (CLC) TO FUNDAMENTAL EDUCATION IN CHIANG RAI PROVINCE

Main Article Content

ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
ราเชนทร์ ติ๊บแก้ว
พรรณรพี ธนรพิพรรณ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 418 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบวิเคราะห์เอกสารการศึกษาพหุกรณี และ 3) แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมมีระดับการดำเนินการ ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการใช้หลักสูตร ด้านการประเมินหลักสูตร และด้านการสร้างหลักสูตร ตามลำดับ สำหรับแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม การจัดทำหลักสูตร การใช้และการบริหารหลักสูตร และการนิเทศกำกับติดตามและประเมินหลักสูตร 2. รูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 และหลักความร่วมมือ (Cooperation) 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย 3) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 3.1) ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากร 3.2) หน่วยงานทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา 3.3) งบประมาณ 3.4) หลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง 4) กระบวนการ ประกอบด้วย 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นการจัดทำหลักสูตร ขั้นการใช้และบริหารหลักสูตร และขั้นนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินหลักสูตร 5) ผลลัพธ์ การจัดการศึกษาที่สนองต่อผู้เรียนด้านทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต มีทางเลือก และโอกาสการประกอบอาชีพที่หลากหลาย 6) ผลกระทบ ประกอบด้วย 6.1) ผู้เรียนมีทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต มีทางเลือกและมีโอกาสประกอบอาชีพที่หลากหลาย 6.2) ครูได้รับการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน 6.3) สถานศึกษา และสถานประกอบการ มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะอาชีพที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และ 7) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปปรับใช้ในการจัดหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปกำหนดนโยบายเพื่อจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัด

Article Details

How to Cite
อุ่นกอง ธ. . ., ติ๊บแก้ว ร. ., & ธนรพิพรรณ พ. . (2024). รูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย: THE MENAGEMENT MODEL FOR CONTINUOUS AND LINKING CURRICULUM (CLC) TO FUNDAMENTAL EDUCATION IN CHIANG RAI PROVINCE. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 96–110. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16152
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ.

คำภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชนกนารถ ชื่นเชย. (2550). รูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่องในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรงค์ โพธิ และณัฐธยาน์ โพธิ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 2. สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปทุมธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มีนา แซ่ลิ้ม. (2560). การประเมินหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี : สาขาวิชาการประเมินการศึกษ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไมตรี บุญทศ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ระภีพรรณ ร้อยพิลา. (2562). รูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 8(29).

วีระ บัวผัน. (2563). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรมองค์การสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนันทา แก้วสุข. (2553). รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับดี : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัยรินทร์ ธนอริยมินทร์. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการหลักสูตรต่อเนื่องตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอ่างทอง. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. (4th ed). New York: McGraw-Hill Book.

Good, V. Carter. (1959). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book Company.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.