ผลของการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA ที่มีต่อทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 THE RESULTS OF USING CPA TECHNIQUE ON MATHEMATICAL SOLVING PROBLEM SKILL IN THE PYTHAGOREAN THEOREM OF GRADE 8 STUDENTS

Main Article Content

นลิตา สอนวารี
ปกรชัย เมืองโคตร
รุ่งโรจน์ ศรีจันทร์แก้ว

Abstract

การแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์หลายขั้นตอนและเข้าใจได้ยาก ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA ในการแก้โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส เริ่มจาก Concrete(C) เรียนรู้ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มโนมติ Pictorial (P) เรียนรู้ผ่านภาพ เน้นให้สร้างภาพขององค์ความรู้ไปสู่ Abstract ได้ และ Abstract(A) เรียนรู้ผ่านสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรม นักเรียนมองภาพรวมได้ง่ายทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีมโนมติทางคณิตศาสตร์ถูกต้อง การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA นำไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 47 คน ใช้สถิติทดสอบทีในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ เนื่องจากคะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 12.49 คะแนน และคะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 23.98 คะแนน 2)ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 23.98 คิดเป็นร้อยละ 79.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สอนวารี น., เมืองโคตร ป., & ศรีจันทร์แก้ว ร. (2024). ผลของการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบหลักการ CPA ที่มีต่อทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2: THE RESULTS OF USING CPA TECHNIQUE ON MATHEMATICAL SOLVING PROBLEM SKILL IN THE PYTHAGOREAN THEOREM OF GRADE 8 STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 42–55. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16064
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร.

ฉัตรกาญจน์ ธานีพูน และ นงลักษณ์ วิริยะพงษ์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักการ CPA ร่วมกับบาร์โมเดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(1), 93-105.

ณัฐกานต์ อารีรัตนเวช และวนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวปฏิบัติการสอน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริม การนำเสนอตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(2), 45-56. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/244399.

ณัฐวุฒิ โชติวิญญู และคณะ. (2565). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดCONCRETE-PICTORIAL-ABSTRACT: CPA. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), 33-43.

ธีรพล พากเพียรกิจ. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดโมเดลเมธอดและการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50092

นิษรา พรสุริวงษ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. The Journal of Research and Academics, 4(2), 177-186.

บุญชม ศรีสะอาด และ บุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พัชราพร เมฆขลา และคณะ (2566). การพัฒนามโนมติทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete-Pictorial-Abstract (CPA) และตัวต่อเลโก้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 34(3), 212-225.

วุฒิชัย ภูดี. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยโปรแกรม Geogebra. รอบรู้คณิต. ปีที่ 4, 23-27.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560).คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร

สมทรง สุวพานิช. (2549). โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัมพร ม้าคนอง. (2557). “ความเข้าใจเชิงมโนทัศน์: จุดเน้นของงานสอนคณิตศาสตร์”. ใน พร้อมพรรณ อุดมสิน และอัมพร ม้าคะนอง (บรรณาธิการ). ประเมินบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. (หน้า 110-125). กรุงเทพฯ:บพิธการพิมพ์.

Hui, C., Hoe, L.& Lee, K. (2017). Teaching and Learning with Concrete-Pictorial-Abstract Sequence - A Proposed Model. The Mathematics Educator. Vol.17, No. 1&2 1-28.

Hafiziani Eka Putri. (2018). Influence of concrete pictorial abstract (CPA) approach towards the enhancement of Mathematical connection ability of elementary school students. EduHumaniora Jurnal Pendidikan Dasa, 10( 2).

Inma, S. (2020). The development of mathematical visualization abilities through learningimplementation based on concrete pictorial abstract (CPA) approach with stick and ballgeometry kit on three-dimensional geometry of students in grade 6. [Master’s degreethesis: Naresuan University]. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Measurement, evaluation, science. Bangkok: C. EdUnition.