การพัฒนาแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ DEVELOPMENT HEALTHY FOOD WISDOM LEARNING COMMUNITIES PLATFORM TO ENHANCE DIGITAL CITIZENSHIP FOR THE ELDERLY

Main Article Content

อุทิศ บำรุงชีพ
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
มงคล ยังทนุรัตน์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของต้นแบบแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ 2) พัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพ และ3) ศึกษาความพึงพอใจผู้สูงอายุที่ใช้ต้นแบบแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ การดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1  การวิจัยเชิงเอกสาร จากต้นแบบแพลตฟอร์ม 6 ต้นแบบ และสนทนากลุ่มจำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนด้วยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 ทดลองใช้กับผู้สูงอายุจำนวน 37 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบบเป็นสัดส่วน  การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นแบบแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครอบคลุมการเรียนรู้ 3 มิติ คือ มิติที่ 1 รู้เขารู้เราเข้าใจดิจิทัล (S1: Savvy) มิติที่ 2 เคารพเขาเคารพเราบนโลกดิจิทัล (S2: Social) มิติที่ 3 ป้องกัน เท่าทันภัยดิจิทัล (S3: Safety) และกิจกรรมของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  คือ  เสริมภูมิความรู้เดิม เติมภูมิความรู้ใหม่ สร้างแรงใจการมีส่วนร่วม หลอมรวมคลังจัดการความรู้ โดยแพลตฟอร์มชื่อว่า We Enjoy Digital ที่ประกอบด้วย โมบายแอปพลิเคชัน เว็บแอปพลิเคชัน และแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด 2) ผลการพัฒนา พบว่า ต้นแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ We Enjoy Digital มีประสิทธิภาพโดยรวมซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.51 3) ผลการทดสอบกับผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.58 ด้านการสมัครและการใช้งาน ผู้ใช้ (User) มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.59

Article Details

How to Cite
บำรุงชีพ อ., โพธิ์ศรี พ. ., & ยังทนุรัตน์ ม. (2023). การพัฒนาแพลตฟอร์มชุมชนแห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ: DEVELOPMENT HEALTHY FOOD WISDOM LEARNING COMMUNITIES PLATFORM TO ENHANCE DIGITAL CITIZENSHIP FOR THE ELDERLY. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 132–148. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15380
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (2563). คู่มือ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2563). เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สำหรับการวิจัยทางการศึกษาในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง. เฮาส์.

พนม คลี่ฉายา. (2564).การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้าง ภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์. (39)2, 56-78.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

รัตนา จักกะพาก และคณะ. (2554). สื่อเพื่อสูงอายุในประเทศไทย สภาพการณ์ปัจจุบัน ความคาดหวัง แนวโน้มในอนาคต และการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560 – 2579). กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ปนัดดา ยิ้มสกุล และคณะ. (2565). การพัฒนาแพลตฟอร์มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม (Soft Skill) ในสังคมผู้สูงอายุยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 16(2). 86-108.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2563). ภูมิปัญญา OTOP. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://cep.cdd.go.th/otop-data/.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2565). แนวคิดและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุของไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 26(2). 211-222.

อุทิศ บำรุงชีพ และคณะ. (2566). พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดิจิทัลยุคพลิกผันของผู้สูงอายุในประเทศไทย. รายงานวิจัย, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Abik, M., Ajhoun, R., & Ensias, L. (2012). Impact of technological advancement on pedagogy. Turkish Online Journal of Distance Education, 13(1), 224-237. Retrieved May 29, 2022 from http://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ976961.pdf

Alexandra Altvater. (2020). The Software Development Life Cycle (SDLC). Retrieved May 29, 2021, from https://stackify.com/what-is-sdlc/

Hoppler SS, Segerer R and Nikitin J. (2022). The Six Components of Social Interactions: Actor, Partner, Relation, Activities, Context, and Evaluation. Front. Psychol. 12:743074. doi: 10.3389/fpsyg.2021.743074

Pinzón-Pulido et al. (2019). Creation Process of the Digital Platform to Foster Healthy and Active Aging: enbuenaedad. Frontiers in Public Health. 2019 (7). 1-8. https://doi.org/10.3389/fpubh.2019.00022

Ribble, M.& Bailey, G. (2017). Nine Themes of Digital Citizenship. Retrieved May 29, 2021, from https://www.digitalcitizenship.net/nine-elements.html.