การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ณัฏฐ์จริยา รอดพฤกษ์ภูมิ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์สภาพ  พัฒนารูปแบบ  ศึกษาประสิทธิผล ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยวและการศึกษา จำนวน 12 คนสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ นักเรียนจำนวน 30 คนสำหรับการวิจัยเชิงทดลอง และผู้บริหารและครูจำนวน  125 คน จากโรงเรียน 12  แห่ง สำหรับการประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบวัด และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้ หน่วยงานท่องเที่ยวมีการร่วมมือกันในการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ร่วมกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายของโรงเรียนกับแหล่งเรียนรู้  ด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านระบบบริหารของโรงเรียน ด้านโครงสร้างเอกสารประกอบในการจัดทำ ด้านการวัดผลและประเมินผล  2) รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรท่องเที่ยวและการบริหารแหล่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา การประสานงานระหว่างโรงเรียนกับแหล่งท่องเที่ยว การเตรียมการของโรงเรียนและแหล่งการเรียนรู้ การใช้แหล่งเรียนรู้จากทรัพยากรท่องเที่ยว  และการประเมินผล  3) ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณค่าในระดับมาก และความสามารถในการเขียนของนักเรียนอยู่ในระดับมากเช่นกัน  และ 4)  การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ต่อรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากAbstract The purposes of this research were to analyze, develop, study the effectiveness, and evaluate possibility and usability of tourism resource management model as learning resource for basic education school. This was a mixed method research by 3 sampling groups which included 12 experts from educational and tourism resource for qualitative research, 30 students for experimental research, and 125 administrators and teachers from 12 schools for the possibility and usability. The instruments included: focus group, evaluation form, and questionnaires. The findings revealed that; (1) management of tourism resource as learning resource, therefor, the tourism resource organization collaborates into learning resource administration for basic educational school in 6 aspects; policies between school and learning resource, learning resource administration, student learning activities, school administration system, paper preparation, and evaluation,  (2) The model of tourism resource management as learning resource for basic education school had five components, namely, 1) setting a policy of tourism resource management as learning resource and policy of learning resource management of basic education school, 2) coordinating between school and tourism resource, 3) school and tourism resource’s preparation, 4) using tourism resource as learning resource, and 5) evaluation, (3) effectiveness of the model of tourism resource management as learning resource for basic education school gained high value level by the teacher and student opinion and the student writing ability was at a very good level, (4) the possibility and usability for the model of tourism resource management as learning resource for basic education school was at a high level. คำสำคัญ:        ทรัพยากรท่องเที่ยว  แหล่งเรียนรู้  การศึกษาขั้นพื้นฐาน Keywords:      Tourism resource,   Learning resources, Basic education school

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
รอดพฤกษ์ภูมิ ณ. (2016). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บรรณศาสตร์ มศว, 8(2), 1–14. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/7058
Section
Research Articles