การรับรู้และเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

นนทนันท์ แย้มวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง “การรับรู้และเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้และเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิต ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยจำแนกตามตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา กลุ่มสาขาวิชา และอายุ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 432 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโควตา (Quota stratified random sampling) ตามระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ค่าสถิติ F-test และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านการรับรู้ พบว่า นิสิตระดับบัณฑิตศึกษามีการรับรู้เกี่ยวกับการ ลอกเลียนวรรณกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และนิสิตที่มีเพศ ระดับการศึกษา กลุ่มสาขาวิชา และอายุแตกต่างกัน โดย รวมมีการรับรู้เกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมไม่แตกต่างกัน 2) ด้านเจตคติ พบว่า นิสิตระดับบัณฑิตศึกษามีเจตคติ เกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง และนิสิตที่มีเพศ ระดับการศึกษา กลุ่มสาขาวิชา และอายุแตกต่าง กัน โดยรวมมีเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมไม่แตกต่างกัน และ 3) ด้านความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับ การลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรม   Abstract The purposes of this research were to study, compare and find out the relationship of perception and attitude toward plagiarism among graduate students of Srinakharinwirot University, with the variables as types of gender, class level, group of subject branch and age. The sample group of this research was 432 graduate students used quota stratified random sampling by their educational level and subject group. The research was conducted through a questionnaire. Statistics used in data analysis are percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and Pearson’s correlation coefficient. The results of the research were summarized 1) The perceptual aspect found that the graduate students’ perception toward plagiarism was at a high level. The comparison of graduate students’ perception toward plagiarism by variables such as gender, educational level, subject group and age, revealed that there was no difference. 2) The attitude aspect found that the graduate student’s attitude toward plagiarism was at high level. The comparison of graduate student’s attitude toward plagiarism by variables such as gender, educational level, subject group and age revealed that there was no difference. 3) The relationship between graduate student’s perception toward plagiarism and graduate student’s attitude toward plagiarism were found in no relationship. คำสำคัญ: การลอกเลียนวรรณกรรม นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Keyword: Plagiarism, Graduate students, Srinakharinwirot University

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แย้มวงษ์ น. (2014). การรับรู้และเจตคติเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บรรณศาสตร์ มศว, 7(2), 1–13. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/4951
Section
Research Articles