ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งเปรียบเทียบทักษะการประเมินสารสนเทศจำแนกตามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือ เพศ ชั้นปี กลุ่มสาขาวิชา ประเภทสถาบันอุดมศึกษา ผลการเรียน ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ประจำ การคิดอย่างมีเหตุผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 441 คน คัดเลือกโดยวิธี การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการประเมินสารสนเทศและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของซอมเมอร์ซ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยค่าแอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการประเมินสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ชั้นปี กลุ่มสาขาวิชา ประเภทสถาบันอุดมศึกษา สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ประจำ การคิดอย่างมีเหตุผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการเปรียบเทียบทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษา จำแนกตามตัวแปรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน พบว่า นักศึกษาที่มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันทั้งหกปัจจัย มีทักษะการประเมินสารสนเทศแตกต่างกัน โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 หรือสูงกว่า มีทักษะการประเมินสารสนเทศมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 นักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีทักษะการประเมินสารสนเทศมากกว่ากลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีทักษะการประเมินสารสนเทศมากกว่านักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน นักศึกษาที่ใช้เฟซบุ๊กและยูทูปเป็นประจำ มีทักษะการประเมินสารสนเทศมากกว่านักศึกษาที่ใช้กูเกิลพลัส นักศึกษาที่มีการคิดอย่างมีเหตุผลระดับสูงมีทักษะการประเมินสารสนเทศมากกว่าระดับปานกลางและระดับต่ำ นักศึกษาที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณระดับสูงมีทักษะการประเมินสารสนเทศมากกว่าระดับปานกลางและระดับต่ำ Abstract This research aimed to study information about the evaluation skills of online social media; to investigate the related factors and to compare the information evaluation skills of online social media and related factors of undergraduate students in the Bangkok metropolitan area, which consisted of four hundred and forty-one undergraduate students.The factor variables included gender, year, major, type of university, learning results, internet usage time, using online social media, reasoning and critical thinking. The data collection tools was are Information evaluation skills test. The research was conducted using a test and the data obtained were analyzed using descriptive statistics, a Chi-square test, Somer’d correlation, t-test, One way ANOVA and post hoc comparison using LSD. The resulted revealed that undergraduate students in the Bangkok metropolitan area developed information evaluation skills from online social media at a low level. The factors related to information evaluation skills from online social media included year, major, type of university, use of online social media, reasoning and critical thinking. The comparison of the information of students, their evaluation skills and online social media including the related factors, which demonstrated the following: The factors related of different had different information evaluation skills. The third, and fourth year or higher level students had a higher level of information evaluation skills than the first and the second year students. Health science students had a higher level of information evaluation skills than Humanities and Social Sciences and Science and Technology students. The students from public universities had a higher level of information evaluation skills than private universities. The students who used Facebook and Youtube had a higher level of information evaluation skills than those who used Google plus. The reasoning levels of students were high had a higher level of information evaluation skills at a moderate to a low level. The critical thinking levels of students were high level had a higher level of information evaluation skills at a moderate to a low level. คำสำคัญ: การประเมินสารสนเทศ สื่อสังคมออนไลน์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดอย่างมีวิจารณญาณ Keywords: Information evaluation, Online social media, Undergraduate student, Reason thinking, Critical thinking
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
บุญอาจ ช. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. บรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 48–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10908
Section
Research Articles