การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพครู ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพครู ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานการผลิต จากคุรุสภา สาขาวิศวกรรม ชั้นปีที่ 4-5 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพครู ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อทดสอบค่า Kaiser-Meyer-Olkin: KMO ซึ่งเท่ากับ .927 แสดงให้เห็นว่าข้อมูลเหมาะสมต่อการวิเคราะห์องค์ประกอบในระดับดีมาก ค่า Bartlett’s test of Sphericity มีการแจกแจงโดยประมาณแบบ Chi-Square เท่ากับ 5211.612 และค่า Significant เท่ากับ .001 ทำการหมุนแกนองค์ประกอบด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Rotation) สามารถทำการวิเคราะห์องค์ประกอบแยกออกได้ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ค่านิยมในวิชาชีพครู 2) เจตคติในวิชาชีพครู 3) ความกระตือรือร้นในวิชาชีพครู 4) การพัฒนาตนเองในวิชาชีพครู 5) ความทุ่มเทอุทิศตนในวิชาชีพครู 6) ความใส่ใจและจดจ่อในวิชาชีพครู และ 7) ทักษะและความสามารถในวิชาชีพครู คำสำคัญ: ความยึดมั่นผูกพัน วิชาชีพครู นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม Abstract The purpose of this research was to study the engagement in teaching profession of industrial teaching students of the three King Mongkut's Technology Institutions: King Mongkut's University of Technology North Bangkok (KMUTNB), King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT), and King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (KMITL). The samples were 260 industrial teaching students who are currently studying in year 4 and 5 in Engineering Program, Bachelor of Education (5-year curriculum) at these three institutions. The statistics used was exploratory factor analysis. The research instrument was a questionnaire with 66 question items using Likert scale (5 Likert Type scale). The research found that the factors of engagement in teaching profession of industrial teaching students, the Kaiser-Meyer-Olkin: KMO was .927 which indicated that the items were appropriate in a very good level. In addition, Bartlett’s test of Sphericity, estimated with Chi-Squa redistribution, was 5211.612, and the significant value was equal .001. The rotation elements with Varimax method can be categorized into 7 factors consisted of 1) values in teaching profession 2) attitudes toward the teaching profession 3) enthusiasm in teaching profession 4) self-development in teaching profession 5) dedication in teaching profession 6) attention and focus in teaching profession, and 7) skill and ability to teaching profession. Keywords: Engagement, Teaching Profession, Industrial Teaching StudentDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย