การประเมินรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล

Authors

  • สุชานันท์ อ้ อหิรัญ
  • องอาจ นัยพัฒน์
  • สนอง โลหิตวิเศษ
  • คมกฤช จันทร์ขจร
  • สุทธิรักษ์ หงสะมัติ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการประเมินรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาขององค์การบริหารส่วนตำบลวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพ  ปัญหา  และความต้องการรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล  โดยการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ นำมาร่างเป็นกรอบการสร้างรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลทำการสำรวจ  สภาพ  ปัญหา  และความต้องการภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอผักไห่  และความต้องการรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอผักไห่  โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  (Multi-Stage  Random Sampling)  ได้ 409 คน 2) การสร้างรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยนำความต้องการข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมาร่างเป็นรูปแบบการจัดเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนอำเภอผักไห่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ 3) การประเมินรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน  ประเมินความสอดคล้องและความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุดสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า          1.การประเมินรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย 7 องค์ประกอบดังนี้ 1.1ปรัชญา  แนวคิดและหลักการของเครือข่ายได้แก่  ปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต  ปรัชญาคิดเป็น  และปรัชญาพิพัฒนาการนิยม1.2 การเรียนรู้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.3 การมีส่วนร่วมได้แก่  ขั้นตอนการมีส่วนร่วม และระดับการมีส่วนร่วม  1.4 กิจกรรม  ได้แก่  กิจกรรมพบกลุ่ม และกิจกรรมบนเครือข่ายออนไลน์   1.5 องค์ความรู้ได้แก่  แหล่งรับรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน  และองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล  ซึ่งได้มาจากการฝึกปฏิบัติ 1.6 การสนับสนุน ได้แก่การเข้าร่วมเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรได้รับการสนับสนุน1)เวลา2) องค์ความรู้  เทคนิควิธีการและ3)ทรัพยากร  และการสนับสนุนหรือการพัฒนา โดยส่งเสริมความรู้  ตระหนัก  มีจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าและความสำคัญในการร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  1.7 ผลประโยชน์กระบวนการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่หรืออนุรักษ์รักษาไว้และแหล่งเรียนรู้ ทำให้คนเกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้  และ 2. ผลการประเมินรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ในภาพรวม และทุกรายองค์ประกอบมีความเป็นไปได้นำรูปแบบไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นองค์ประกอบองค์ความรู้ ผลประโยชน์ และการสนับสนุนมีความเป็นไปได้นำรูปแบบไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก   คำสำคัญ: รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบล Abstract The research on the evaluation of model for local wisdom learning network of sub district administration organization aims to evaluation of the model for local wisdom learning network of sub district administration organization.  The research methodology consists of 3 steps.  The first step is to study situations, problems, and needs of the model for local wisdom learning network of sub district administration organization by analyzing documents and research relevant to informal educations in Thailand and other countries, and drafting the framework to construct the model for local wisdom learning network of sub district administration organization.  Thenthe situations, problems, and needs of local wisdom in Pakhai District are surveyed using rating scale questionnaire. The sample Derived from a random multistage (Multi-Stage Random Sampling) for 409 people . The second step is to construct the model for local wisdom learning network of sub district administration organization.  The model for local wisdom learning network of people in Pakhai District, Ayutthaya was drafted based on the needs survey items that have statistically significant higher mean scores, compared to the set criteria.And the third step is to evaluation of model for local wisdom learning network of sub district administration organization. The seven experts reviewed the consistency and feasibility of the model in most. The data was analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation.  Research findings are as followed: 1. The evaluation of model for local wisdom learning network of sub district administration organization consists of 7 components as follows. 1.1 philosophy and principles of the network ,including the philosophy of lifelong learning khit-pen and progressivism. 1.2 Learning consciousness in preserving traditional knowledge and promote traditional culture and local wisdom. 1.3 The engagement process and the level of participation. 1.4 Activities include group activities and online network activity. 1.5 Body of knowledge including local wisdom awareness, local wisdom learning in community and knowledge from a person gaining through practice . 1.6 Support including the participation in local wisdom learning network should be supported in term of 1)time 2) knowledge, techniques and methods and 3) resource and support or development by promoting knowledge, awareness, and conscious of the value and importance to conserve local wisdom. 1.7 Benefits knowledge management could preserve local wisdom. Learning resources could generate local wisdom learning and be a learning center. 2. The evaluation of model for local wisdom learning network of sub district administration organization shows overall and by most individual components, the model is practically feasible at the highest level except the body of knowledge,benefits and support components which show the practically feasible at high level .   Keywords : Network Model, Local Wisdom Learning, Sub-District Administration Organization

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads