ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานพนักงานประจำสาขาของธนาคารทีเอ็มบี แบงก์ จำกัด (มหาชน) สาขาสามพราน จ.นครปฐม
Abstract
บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำสาขาของธนาคารทีเอ็มบี แบงก์ จำกัด (มหาชน) สาขาสามพราน จ.นครปฐม และเปรียบเทียบขวัญกำลังใจ ตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ เงินเดือน เพศ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการทำงาน กลุ่มประชากร เป็นพนักงานประจำสาขาของธนาคารทีเอ็มบี แบงก์ จำกัด (มหาชน) สาขาสามพราน จ.นครปฐม จำนวนทั้งสิ้น 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำสาขา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการทดสอบเปรียบเทียบโดยค่าซี วิเคราะห์ผลทั้งหมดโดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำสาขาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า พนักงานประจำสาขามีขวัญกำลังใจด้านนโยบายการบริหารงานขององค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการดูแลสุขภาพและด้านสวัสดิการในหน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนขวัญกำลังใจในด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา ด้านความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับสูง พนักงานประจำสาขาของธนาคารที่มีสถานภาพส่วนตัวต่างกัน คือ อายุ เงินเดือน เพศ ระดับการศึกษา และระยะเวลาร่วมงานกับองค์กรต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการทำงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05คำสำคัญ: ขวัญกำลังใจ, การปฏิบัติงาน Abstract The purposes of this research were to study conditions on the morale of staff operations branch of TMB Bank Limited (PCL) and compare the morale of employer. Personal status is based on salary, age, gender, level of education. The duration of staff working population is a branch of Bank TMB Bank Limited (PCL), The sample were 68 peoples. The questionnaires were use tomeasure morale in the work of field staff. Statistics used in research, including the standard deviation of percentage frequency values and test values compared with C. The results showed that. Morale in the work of field staff in the overall average. Given the revenue side found. Branch staff morale in the administration of corporate policies. Environmental work. Health care and welfare of the unit. In the medium. The morale in the relationship with superiors. Satisfaction in work practices. Is high. Branch staff are different personal status are age, gender, education level salary. And time to work with different organizations. The morale in the work does not differ statistically significant at 0.05 level. Suggestions of research. Should study other independent variables. More more groups of employees such as marital status, etc. Because this research is a research survey. Therefore, to study results can be applied usefully and to extend the study to more. Should study more comparable with the research methodology to other participants in the study. To study the environmental conditions that can explain or morale will occur as to the theory or not.Keyword: Morale, OperationsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-07-01
Issue
Section
บทความวิจัย