การรับรู้บรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันขององค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในฝ่ายการผลิตของบริษัทกรุงเทพอิเลคทรอนิคส์
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้บรรยากาศองค์กรของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการรับรู้บรรยากาศองค์กรที่มีต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการในฝ่ายการผลิตของบริษัทกรุงเทพอิเลคทรอนิคส์ จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามวัดการรับรู้บรรยากาศองค์กร และแบบสอบถามวัดความผูกพันต่อองค์กร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ การทดสอบเปรียบเทียบโดยค่าที และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน วิเคราะห์ผลทั้งหมดโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีระดับการรับรู้บรรยากาศองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลาง พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา อายุงาน และฝ่ายงานที่สังกัดแตกต่างกันมีระดับการรับรู้บรรยากาศองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้บรรยากาศองค์กรมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05คำสำคัญ: การรับรู้บรรยากาศองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร Abstract The objectives of this survey research were to comparing perception of organizational climate of employees based on their individual factors, comparing organizational commitment of employees based on their individual factors , and finding the relationship between perception of organization climate and organizational commitment of employees. The samples included 352 production employees working in Krung Thep Electronics Company Limited. The questionnaire composed of three parts: a 4-item questionnaire inquiring individual factors, a 45-item questionnaire measuring perception of organization climate and a 17-item questionnaire measuring organizational commitment. The statistics used in this study were frequency, percentage and standard diviation. Hypothesis were tested by One-way ANOVA, Scheffe’, t-test and Pearson’s Product Moment Correlation. The analysis results indicated that employees perceived organizational climate at a medium level and had a medium level of organizational commitment. The employees who were different in age, level of education, period of working time and division, had not different perception of organizational climate and organizational commitment with statistical significance at .05. There was positive relationship between the perception of organizational climate and organizational commitment with statistical significance at .05.Keyword: Organizational Climate, Organizational CommitmentDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-01-01
Issue
Section
บทความวิจัย