การวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบประเมินในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

Authors

  • ธีรยุทธ์ เมืองแก้ว
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • โอภาส สุขหวาน

Abstract

บทคัดย่อ               การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบประเมินในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิต/นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพฯ พนักงานบริษัทเซ็นทรัลการ์เม้นท์ แฟคตอรี่จำกัด ข้าราชการกรมราชองครักษ์ พนักงานรัฐวิสาหกิจโรงงานยาสูบ และพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดลาซาล ซอย 48 จำนวน 1,297 คน ซึ่งได้มาจากโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Simpling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการคิดเชิงบวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis: PC) และใช้การหมุนแกนแบบมุมฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method)               ผลการวิจัยพบว่า   การวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบประเมินในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า จากตัวแปร 48 ตัว มีค่าสถิติของไคเซอร์-ไมเยอร์-โอลคิน (KMO) มีค่าเท่ากับ 0.866 และค่าสถิติไค-สแควร์ () ที่ใช้ในการทดสอบมีค่าเท่ากับ 28063.300 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า เมตริกซ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน  ได้ทำการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis: PC) ซึ่งผู้วิจัยทำการหมุนแกนองค์ประกอบและพบว่า ได้องค์ประกอบทั้งหมด 9 องค์ประกอบ มีพิสัยของค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 1.044 - 8.143 และมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 56.937 ได้ทั้งหมด 9 องค์ประกอบ และพิจารณาความเหมาะสมของค่าน้ำหนักองค์ประกอบแล้ว ที่เกินค่า .3 ความสอดคลองและข้อคำถามที่มีน้อยเกินไป ทำให้เหลือองค์ประกอบที่ใช้ได้จริง 7 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรับผิดชอบในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า องค์ประกอบที่ 2 ด้านการสนับสนุนทางสังคมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า องค์ประกอบที่ 3 ด้านทัศนคติต่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า องค์ประกอบที่ 4 ด้านความสนใจในการรับข้อมูลข่าวสารในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า องค์ประกอบที่ 5 คือ ความรู้ในการประหยัดพลังงาน องค์ประกอบที่ 6 คือ พฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า และองค์ประกอบที่ 7 คือ การศึกษาข้อมูลก่อนซื้อและใช้พลังงานไฟฟ้า คำสำคัญ: วิเคราะห์องค์ประกอบ, การประหยัดพลังงานไฟฟ้า AbstractThe purposes of this research was to analyzed factors for evaluation on electric energy saving. The sampling were 1,297 peoples chosen by cluster random sampling technique. They were Students of Rajamangala University of Thechnology Krungthep,. employees of Central Garment Factory Co.,Ltd, Officers of Royal Aide de Camp Department, Employees of State Enterprise of Thai tobacco, and Lasalle vendors soi 48. Questionnaires were used for collect the data in positive side. Statistical tools were used for analyzed the data they were exploratory factor analysis by analyzed principal component analysis: PC, and Orthogonal Rotation by Varimax Method.               The results were as followed                There were 48 factors analysis for evaluation on electric energy saving. Kaiser-Meyer-Olkin was (KMO) 0.866 and Chi-Square () was 28063.300 which is statistically significant at the .05 level showed that Correlation matrix of different variables are related. Elements can be extracted by analysis of Principal Component Analysis (PC), which the researchers found that the composition and rotation. 9 elements, all elements had a range of values of Eigenvalue between 1.044 to 8.143 and had cumulative variance of 56.937 percent of all 9 elements. When consider the appropriateness of the weights of elements had the value of 0.3, the consequences of the questionnaires were low. Then only 7 elements remain. They were, 1st element was responsibility. 2nd element was social saving electricity. 3rd element was attitudes towards saving electrical power. 4th element was the interesting on energy saving information. 5th .element was energy saving knowledge. 6th element was energy consuming behavior 7th element was information learning.Keyword: Factors Analysis, Electric Energy Saving.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ธีรยุทธ์ เมืองแก้ว

Industrial Education division

Downloads

Published

2012-01-01