กระบวนทัศน์การพัฒนานวัตกรรมการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลเพื่อสืบสานภูมิปัญญา การเจียระไนพลอยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดจันทบุรี

Authors

  • อุทิศ บำรุงชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พักตร์วิภา โพธิ์ศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

กระบวนทัศน์การพัฒนา, การเล่าเรื่องแบบดิจิทัล, ภูมิปัญญาการเจียระไนพลอย, เศรษฐกิจสร้างสรรค์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การพัฒนาการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลเพื่อสืบสานภูมิปัญญาการเจียระไนพลอยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดจันทบุรีโดยการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ ศึกษาบริบทการสืบสานการเจียระไนพลอยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สอบถามความต้องการจำเป็น  และการสนทนากลุ่ม  โดยกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย จำนวน 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจง และสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ จากผู้รู้ และผู้ปฏิบัติ ด้านอาชีพการเจียระไนพลอย และนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนทัศน์การพัฒนาการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลเพื่อสืบสานภูมิปัญญาการเจียระไนพลอย 8 องค์ประกอบ  4C-PLOY ได้แก่ C- (Context ศึกษาบริบทท้องถิ่น;  Congeniality สร้างความเป็นกัลยาณมิตร และความเชื่อมั่น; Connection สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเครือข่ายช่างเจียระไนพลอย;  Cutting เรียนรู้วิธีพิจารณาการเจียระไน);  P:สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความภูมิใจสู่ความคิดสืบสาน; L: สร้างชุมชนการเรียนรู้การเจียระไนพลอย;  O: เปิดมุมมองของการเล่าเรื่อง; Y: ร่วมกันสื่อสารเล่าเรื่องแบบดิจิทัล นอกจากนี้เมื่อสอบถามความต้องการจำเป็นต่อการเล่าเรื่องดิจิทัล พบว่า คนทำพลอยต้องการให้มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เล่าเรื่องการเจียระไนพลอยที่เข้าถึงง่าย และฝึกทักษะวิชาชีพจากผู้รู้ มีค่า (PNI Modified= 2.60) และยังพบอีกว่า 3) การสื่อสารด้วยนวัตกรรมการเล่าเรื่องดิจิทัล ประกอบด้วย หลัก 8E ได้แก่  Experience : เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์; Exploration : เรื่องเล่าชวนคิดหาคำตอบ; Engagement: เร้าความสนใจ;  Emotional Content : สร้างอารมณ์ความรู้สึก; Effect : สร้างเรื่องให้มีผลกระทบเต่อผู้ชม; Edutainment:  เรื่องเล่าดิจิทัลที่ให้ความรู้และความสุนทรีย์; Energetic: เรื่องเล่าที่ช่วยสร้างพลัง ; Economy: เนื้อหานำเสนอมีปริมาณพอเหมาะ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุทิศ บำรุงชีพ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

หัวหน้าโครงการวิจัย ชื่อสกุล (ภาษาไทย)     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ  บำรุงชีพ ชื่อสกุล (ภาษาอังกฤษ) Assittant Professor Acting Sub Lt. Uthit Bamroongcheep ประวัติการศึกษา ระดับปริญญาเอก -  ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกลางบางเขน พ.ศ. 2551 ระดับปริญญาโท -   การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร พ.ศ. 2541 ระดับปริญญาตรี -   ครุศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา) สถาบันราชภัฏพระนคร พ.ศ. 2537 ประกาศนียบัตร -    ประกาศนียบัตรการฝึกวิชาทหารหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริม การฝึกวิชาทหารจากกองทัพเรือ  พ.ศ. 2539 -    Certificate in Instructional Technology, Digital Communication & Intercultural Communication,  California State University, Sacramento USA.  พ.ศ. 2549 สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาวิชาการ (1)   การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (2)   การออกแบบและพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ (3)   การออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล (4)   ทฤษฎีการเรียนการสอนคอนสตรัคชันนิซึม (5)   การเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา (6)   การเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) (7)   การเล่าเรื่องแบบดิจิทัล (Digital Storytelling) หมายเลขโทรศัพท์ 089-5624349 email address uthitb@go.buu.ac.th ตำแหน่งงานปัจจุบัน : อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เลขประจำตำแหน่ง 392-2550   สถานที่ติดต่อ หน่วยงาน ภาควิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่  169 ถนนลงหาดบางแสน  ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

พักตร์วิภา โพธิ์ศรี, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ร่วมวิจัย ชื่อ-สกุล อาจารย์ ดร.พักตร์วิภา  โพธิ์ศรี    หน่วยงาน อาจารย์ประจำภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  จ.ชลบุรี  20131 เลขประจำตำแหน่ง 393-2550 หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน  0-3810-2095    มือถือ  0807839867   e-mail  Pakwipar@go.buu. ac.th ประวัติการศึกษา ปีการศึกษา  2539  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  ศษ.บ. (ภาษาไทย) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา  2543  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา ) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา  2551  ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  ค.ด. (พัฒนศึกษา) คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2021-06-25