การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญา Communication for Exchanging the Knowledge and Passing on Intangible Cultural Heritage
Abstract
บทคัดย่องานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายในการศึกษาวิถีชีวิตและมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไทยยวนราชบุรี เพื่อวิเคราะห์และสร้างความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาในวิถีการผลิตเพื่อยังชีพกับการผลิตเพื่อการค้า เรื่องราวแห่งรอยอดีตและมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไทยยวนราชบุรีเป็นปรากฏการณ์ที่คนไทยกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากดินแดนโยนกเชียงแสนมาตั้งรกรากในจังหวัดราชบุรีเมื่อครั้งรัชกาลที่ 1 โดยตั้งถิ่นฐานที่ริมแม่น้ำแม่กลองใกล้ตัวเมืองราชบุรี ต่อมามีการขยับขยายกระจัดกระจายอยู่ในเกือบทุกอำเภอของจังหวัดราชบุรี ชาวไทยยวนราชบุรีมีมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่โดดเด่น คือ ตัวหนังสือไทยยวน ภาษาพูดไทยยวน และการทอผ้าจก มรดกทางภูมิปัญญาในวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทยยวนเป็นองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติระบบความเชื่อ และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในวิถีแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลแบบพึ่งพิงอิงกัน ความรู้ที่สร้างขึ้นจึงมิได้ตั้งอยู่บนความโดดเดี่ยวแต่จะเกี่ยวโยงอย่างเป็นองค์รวม และมีการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง แต่เมื่อสังคมไทยยวนเปลี่ยนผ่านจากวิถีการผลิตเพื่อยังชีพสู่การผลิตเพื่อการค้า จากเรื่องราวการทอผ้าจกที่เคยถูกใช้ในวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงเป็นการผลิตเพื่อขายให้กับผู้ใช้ผ้าที่อยู่ในสังคมภายนอก และวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญามีการผสมผสานกับการศึกษาในสังคมทันสมัย มีการย่นระยะเวลาการเรียนรู้โดยใช้สื่อกราฟิกเพื่อศึกษาและฝึกทอลายผ้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีทั้งแบบของการสื่อสารแบบตัวต่อตัวในวิถีดั้งเดิม และการเรียนรู้เป็นกลุ่มในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ วิธีการถ่ายทอดได้รับจัดประสบการณ์อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้อยู่ในรูปของหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อรับรองว่าการทอผ้าจกมีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบในการศึกษาของสังคมทันสมัย กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชาวไทยยวนจึงเป็นกระบวนการที่มีพลวัตร ยืดหยุ่น ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงคำสำคัญ : การสื่อสาร / ภูมิปัญญาท้องถิ่น / การถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญา / การแลกเปลี่ยนเรียนรู้AbstractThe purpose of this research is to study theways of living and intangible cultural heritage of Thai-Youn-Rachaburi people to analyze and create knowledgerelated to the process of exchanging and passing onintangible cultural heritage in order to produce productsfor living as well as trading. According to the ancientchronicle, a group of Thai people migrated from Yonok,Chiang Saen to Ratchaburi province during the reignof King Rama 1. They settled on the bangs of MaeKlong River, near the city of Ratchaburi province. Later,they dispersed settlement almost in every Amphur(district) of Ratchaburi province. Thai-Youn-Rachaburipeople have the remarkable intangible cultural heritagethat is Thai-Youn alphabets, Thai-Youn spoken languageand Jok weaving. Intangible cultural heritage in theways of living of Thai-Youn people in the past wererelated to nature, beliefs and the social relationshipthat was helping each other. The knowledge that wasestablished, therefore, was not based on individualismbut was related to all. Moreover, this knowledgewas also passed from one generation to the othergeneration. Later, Thai-Youn people have changed theirways of living from producing the products for livinginto producing products for trading. Jok weaving thatonce was used only in the family is now used tocreate the products that will be sold to the outsiders. Moreover, the ways of exchanging the knowledge inorder to carry on intangible cultural heritage currentlyintegrate the modern knowledge of the society. Theamount of time that is used in order to learn thepattern is decreased by the use of graphic media.Exchanging the knowledge is appeared in two ways:learning one-on-one in the traditional way and learningin groups with the modern educational system. Everystep of teaching process is carefully considered in orderto guarantee that Jok weaving will be systematicallytaught according to the modern ways of learning inthe society so that, the process of exchanging theknowledge of Thai-Youn people will be fast and flexibleaccording to the changes of the society.Keyword : Communication / Indigenous Knowledge /Passing on Intangible Cultural Heritage / Exchangingthe KnowledgeDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย