กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสังคม

Authors

  • กริ่งกาญจน์ เจริญกุล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ทิวาวรรณ ชัยขาว นักวิจัยอิสระ
  • เชวง ไชยวรรณ ผู้สร้างภาพยนตร์

Keywords:

การพัฒนานวัตกรรมสื่อ, ประเด็นทางสังคม, ภาพยนตร์สั้น, Develop innovation Media, social issue, short movies

Abstract

บทคัดย่อ กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อประเด็นทางสังคมของกลุ่มเยาวชน  (Media Lab) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ Movie based learning เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารประเด็นทางสังคมด้วยการผลิตภาพยนตร์สั้นอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านห้องปฏิบัติการทางสังคมโดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และกลุ่มเป้าหมายในโครงการ เข้าร่วมทดลองผลิตภาพยนตร์สั้นที่เรียกว่า Master Lab ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างมีส่วนร่วม หลังจากนั้นกลุ่มเป้าหมายจึงได้ลงมือผลิตภาพยนตร์สั้นประเด็นทางสังคมด้วยตนเอง และเผยแพร่สู่ชุมชนและสังคมวงกว้าง ผ่านกิจกรรม Road show และเทศกาลหนังสั้นเชียงใหม่ Media Lab Film Festival  สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ การระดมสมอง (Brain Storming) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)   โดยนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในกระบวนการ Issue based  กระบวนการ Area based และกระบวนการ Movie based ผลการวิจัยพบว่าประเด็นทางสังคมที่กลุ่มเป้าหมาย เห็นว่าเกิดขึ้นใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสำคัญและใส่ใจในการร่วมกันป้องกันและแก้ไข มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับที่ 1 ประเด็นความเหลื่อมล้ำ คุณภาพชีวิตคนในเมือง ปัญหาระบบขนส่งมวลชน/นโยบายรัฐ (สาธารณูปโภค) การจัดการคุณภาพชีวิตของสัตว์จรจัด และแรงงานถูกเอาเปรียบ อันดับที่ 2 ประเด็นการละเมิดสิทธิบนท้องถนน วินัยการจอดรถ และการละเมิดสิทธิโดยเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการตั้งด่านตรวจรถ อันดับที่ 3 ประเด็นคุณค่าความเท่าเทียมในผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ความแตกต่างบนความหลากหลายในการอยู่ร่วมกันในสังคม อันดับที่ 4 ประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ การเลียนแบบการใช้ภาษา การเสพติดสื่อ อันดับที่ 5 ประเด็นวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงและรักษาสุขภาวะของคนในเมือง พืชเกษตร อาหารปลอดภัยและสวัสดิการการรักษาพยาบาล โดยกลุ่มเป้าหมายได้นำเอาประเด็นปัญหาทางสังคมที่ค้นพบจากกระบวนการดังกล่าว มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์สั้นเล่าเรื่องประเด็นปัญหาทางสังคม ด้วยกระบวนการ Movie Based learning  โดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านกระบวนการพัฒนา ในทุกขั้นตอน จะกลายเป็นนวัตกรที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดในการผลิตภาพยนตร์ในมิติที่หลากหลาย ทั้งจากวิทยากร เครือข่ายประเด็นทางสังคม และนักศึกษาสถาบันอื่นที่เข้าร่วมโครงการ จนสามารถผลิตภาพยนตร์สั้นของตนเองเพื่อสื่อสารประเด็นทางสังคมได้อย่างแนบเนียน  หากมีการต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตภาพยนตร์สั้นให้แก่เยาวชน จนพัฒนาเป็นนวัตกรที่สามารถสื่อสารประเด็นทางสังคมผ่านสื่อภาพยนตร์ยิ่งขึ้นAbstract This participatory action research aired to develop a learning process on the development  of social media innovation. using Movie based learning process to develop skills in communicating social issues by producing short films in a step-by-step manner. Through social laboratories with experienced experts and target groups in the project Participated in a short film production trial called the Master Lab by putting theory into practice. Following that, the target group began to make short films about social issues on their own and transmit it throughout the community and society. Through Media Lab Short Film Festival and road show activities. The tools used to collect research data at each stage were Brain Storming, Focus Group Discussion, Participant Observation. By collecting data in the Issue based process, Area based process, and Movie based process.Social issues were used for a short movie production which the society should put the importance on it and help prevent based on the following top 5 issues : 1) Inequality of  quality of life in urban areas, problems in mass transportation infrastructure systems, quality of life of stray animal management and workforce who are taken advantage 2) Infringement on streets , car parking discipline, and infringement committed by government personnel setting up a car checkpoint 3) Equality of disabled persons, aging people , children and youths as well as the difference on the diversity in cohabitation in the society 4) Media literacy, language use assimilation and media addiction 5) Culture, urban dweller well-being change and maintenance, agricultural crops, safe food and sick pay welfare The target group took the societal issues found during the process and applied them to their lives. to use a Movie Based Learning process to create a short film about social issues. The target groups that go through the development process at each stage will become innovators who will be able to exchange ideas in film production on a wide range of levels. Speakers from the social issues network as well as students from other institutions involved in the initiative. Until they are able to produce their own short films to communicate social issues seamlessly. The possibility for producing short films for young people will increase the potential of producing short films for young people. Until developed as an innovator who can communicate more social issues through the media of movies.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-29