การพัฒนาแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน
Keywords:
การพัฒนาแบบวัด, การสื่อสาร, ภัยไซเบอร์, ฟิชชิ่ง, Assessment Development, Communication, Cyberthreat, PhishingAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน และ 2) เพื่อทดสอบคุณภาพแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัลโดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน โดยทดสอบความตรงเชิงประจักษ์ ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเชื่อมั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้รับสารกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากกระบวนการสร้างเครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย 9 หมวด รวมทั้งสิ้น 36 ข้อคำถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 ตัวแปร 2) คุณภาพแบบวัด ความตรงของแบบวัด ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87 ความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .85 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง ซึ่งตรวจสอบโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สามารถจัดข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์อยู่ในปัจจัยเดียวกันได้ 9 ปัจจัย ได้แก่ อ้างเป็นบุคคลสำคัญ การสร้างความน่าเชื่อถือ กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นความต้องการ สร้างความคาดหวัง ความกลัว ความโลภ ความอยากรู้อยากเห็น และการตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผลAbstract The study aimed to 1) construct a deception risk assessment on digital media using a communication-based model, and 2) examine the empirical validity, content validity, construct validity, as well as the reliability of the deception risk assessment on digital media using the communication-based model. The sample group was 400 Thai digital native recipients determined by using a purposive sampling method. The instrument used in this study was the deception risk assessment on digital media developed by the researcher employing the communication-based model. The instrument consisted of 9 aspects with 36 question items, and its reliability was at .85. The findings revealed that 1) the development of deception risk assessment on digital media using the communication-based model was associated with 9 factors, and 2) the quality of the instrument in terms of content validity index and reliability were .87 and .85 respectively. As the researcher performed an exploratory factor analysis (EFA), the question items that appeared in the assessment could be classified into 9 related factors including, key-person impersonation, credibility building, attention gaining, needs stimulation, expectation, fear, greed, as well as curiosity and unreasonable decision making.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-29
Issue
Section
บทความวิจัย