การคำนวณการกระจายของการตกตะกอนในอ่างเก็บน้ำ

Authors

  • สัจจะ เสถบุตร ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
  • สุธิดา ทีปรักษพันธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาการกระจายของการตกตะกอนมีความจำเป็นเพื่อคาดคะเนอายุการใช้งานของอ่างเก็บน้ำ  และเป็นขั้นตอนสำคัญของการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ วิธีเอมไพริกัลสามารถใช้หาโค้งปริมาตรเก็บกักระดับ (Storage-Elevation Curve) ของอ่างเก็บน้ำที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการตกตะกอนได้ แต่ยังไม่สามารถทำนายการกระจายของการตกตะกอนในอ่างเก็บน้ำได้ บทความนี้จึงนำเสนอวิธีการคำนวณโดยวิธีเอมไพริกัล (Empirical Method)  ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีอนาลิทตริกัล ด้วยโปรแกรมแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) ทั่วไป  โดยใช้ข้อมูล แผนที่ชั้นความสูง 1:50,000 ตัวอย่างตะกอน และปริมาณตะกอนต่อปีที่ไหลเข้าอ่าง  ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้งาน  การบำรุงรักษา และการจัดการน้ำเบื้องต้นในอ่างเก็บน้ำ เช่น  การทำนายอายุการใช้งานของสถานีสูบน้ำ  หรือการเลือกบริเวณที่ควรสร้างสถานีสูบน้ำ  การเลือกร่องน้ำลึกเพื่อการคมนาคม, การประเมินอายุการใช้งานของอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น คำสำคัญ: การตกตะกอน การกระจายการตกตะกอน การวางแผนจัดการอ่างเก็บน้ำ การศึกษาความเป็นไปได้ การขุดลอกอ่างเก็บน้ำ ABSTRACT The study of sediment distribution in reservoir is an important step for the feasibility study on the construction and estimation the life of the reservoir. Storage-elevation curve of the basin changes due to sedimentation can be estimated using empirical method. Nevertheless, this method cannot be used to predict sediment distribution in reservoir. This paper presents a computation method for predicting sediment distribution in reservoir using empirical method (as oppose to analytical).  Input data are 1:50,000 contour map, sediment sample and annual estimation of sediment load.  The computation can be done in spreadsheet. This results provide a basic knowledge of reservoir management (planning, using, and maintenance) such as prediction of pumping stations’ useful life, selection of navigation channel, and assessment of reservoir life. Keyword: Sedimentation, Sediment Distribution, Reservoir Management, Feasibility Study, Reservoir Dredging

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-30