กำลังอัดของรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตที่ใช้ซิลิกาฟูมควบแน่นและไม่เสริมเส้นใยเหล็ก

Authors

  • ชัชวาลย์ พัฒนโยธากุล สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
  • นิพันธ์ ใหญ่อรุณ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานครฯ 10400
  • นิดา ชัยมูล หน่วยวิจัยแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
  • กริสน์ ชัยมูล หน่วยวิจัยทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Abstract

บทคัดย่อ รีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตเป็นคอนกรีตกำลังสูงมากชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดยมีซิลิกาฟูมไม่ควบแน่นเป็นหนึ่งในวัสดุหลัก แม้ซิลิกาฟูมไม่ควบแน่นจะมีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ ทำให้เหมาะที่จะเป็นส่วนผสมรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีต แต่ก็เป็นวัสดุที่หายากเพราะฟุ้งกระจายง่ายไม่สะดวกในการขนย้าย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังอัดของรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตที่ใช้ซิลิกาฟูมควบแน่นและไม่เสริมเส้นใยเหล็ก การศึกษานี้ใช้อัตราส่วนซิลิกาฟูมต่อปูนซีเมนต์โดยน้ำหนัก (F/C) เท่ากับร้อยละ 20 25 และ 30 และอัตราส่วนสารลดน้ำยิ่งยวดต่อปูนซีเมนต์โดยน้ำหนัก (SP/C) เท่ากับร้อยละ 2.0 2.5 3.0 3.5 และ 4.0 การทดสอบประกอบด้วยการไหลแผ่และกำลังอัดที่อายุ 3 7 และ 28 วัน จากผลการทดสอบพบว่า กำลังอัดของรีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีตขึ้นกับปริมาณสารลดน้ำยิ่งยวดและปริมาณซิลิกาฟูม SP/C ที่เหมาะสมสำหรับ F/C ร้อยละ 20 25 และ 30 เท่ากับ ร้อยละ 3.5 2.5 และ 4.0 โดยให้กำลังอัดที่อายุ 28 วันเท่ากับ 1,193 1,140 และ 1,321 ksc ตามลำดับ คำสำคัญ: คอนกรีตกำลังสูงมาก รีแอคทีฟเพาเดอร์คอนกรีต กำลังอัด ซิลิกาฟูมควบแน่น ABSTRACT Reactive powder concrete (RPC) is an ultra-high strength concrete originally developed using un-densified silica fume as a main material. Although the highly refined particles of un-densified silica fume make it suitable for RPC, un-densified silica fume is not commercially available as it is difficult to handle and transport. This research aims to study the compressive strength of the RPC using densified silica fume without steel fiber. In this study, the ratios of silica fume to cement (F/C) of 20%, 25% and 30% by weight and the ratios of superplasticizer to cement (SP/C) of 2.0%, 2.5%, 3.0%, 3.5%, and 4.0% by weight were considered. The flows and the compressive strengths at 3, 7 and 28 days of the RPC were tested. From the test results, it was found that the compressive strength of the RPC depended on the amounts of superplasticizer and silica fume. The appropriate SP/C for F/C of 20%, 25% and 30% was 3.5%, 2.5%, and 4.0% which gave the 28-day compressive strength of 1,193 1,140, and 1,321 ksc, respectively. Keyword: ultra-high strength concrete, reactive powder concrete, compressive strength, densified silica fume

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-26