การเพิ่มผลิตภาพของกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอยในการผลิตสีย้อมผ้า
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพของสีย้อมผ้าประเภทดีดาย โดยการหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย ได้แก่ ขนาดหัวฉีดผงสีและอุณหภูมิของอากาศร้อน ผู้วิจัยทำการทดลองเปรียบเทียบผลิตภาพที่ขนาดหัวฉีด 4 ระดับได้แก่ 2.3 ม.ม. 2.5 ม.ม. 2.75 ม.ม. และ 2.3 ม.ม. 2 หัว และที่ระดับของอุณหภูมิของอากาศร้อน 3 ระดับได้แก่ 100 110 และ 120 องศาเซลเซียส จากนั้นหาระดับของขนาดหัวฉีดผงสีและอุณหภูมิของอากาศร้อนที่สามารถเพิ่มผลิตภาพได้อย่างมีนัยสำคัญโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparisons) ผลการศึกษาพบว่าขนาดหัวฉีดที่เหมาะสมคือ หัวฉีดขนาด 2.5 ม.ม. และอุณหภูมิของอากาศร้อนที่เหมาะสมคือ 110 องศาเซลเซียส โดยให้ค่าผลิตภาพเฉลี่ย 25.42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 28.77 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่ผลิตภาพเป็น 19.74 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ระดับขนาดหัวฉีด 2.3 ม.ม. และอุณหภูมิอากาศร้อน 100 องศาเซลเซียส คำสำคัญ: ผลิตภาพ กระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย ขนาดหัวฉีด อุณหภูมิของอากาศร้อน ABSTRACT This research aims to increase the productivity of textile dye of D-dye type by finding proper levels of process factors in a spray drying process, which were nozzle diameter hot air temperature. This research performed experiments to compare productivity at 4 levels of nozzle diameter: 2.3 mm., 2.5 mm., 2.75 mm. and 2 nozzles of 2.3 mm. and 3 levels of hot air temperature: 100 oC, 110 oC and 120 oC. Then, Analysis of Variance (ANOVA) and Multiple Comparisons were performed to determine the levels of nozzle diameter and hot air temperature, which can increase the productivity significantly. The result showed that the proper levels were at the nozzle diameter of 2.5 mm. and the hot air temperature of 110 oC, which yield the productivity of 22.83%. The productivity was increased 28.77% from 19.74% when using the nozzle diameter of 2.3 mm. and the hot air temperature of 100 oC. Keyword: Productivity, Spray Drying Process, Nozzle Diameters, Hot Air TemperatureDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-06-26
Issue
Section
บทความวิจัย
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ