การพัฒนาแบบจำลองการวัดสมรรถนะสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงการพัฒนาแบบจำลองสำหรับการประเมินสมรรถนะสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่พัฒนาขึ้นจากการสำรวจวรรณกรรมปริทรรศน์และให้ค่าน้ำหนักความสำคัญโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ แบบจำลองที่ได้รับมีสามระดับชั้นและประกอบด้วยตัวชี้วัด 38 ตัวพร้อมค่าน้ำหนักของตัวชี้วัดสำหรับการประเมินสมรรถนะสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน 5 มิติ ได้แก่ มิติกายภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคมและมิติการบริหารจัดการ จากการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักความสำคัญพบว่ามิติที่มีความสำคัญต่อการเป็นสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมากที่สุด คือ มิติสิ่งแวดล้อมที่มีคะแนนความสำคัญเท่ากับ 0.486 รองลงมาคือมิติสังคมที่มีคะแนน 0.171 มิติกายภาพมีคะแนน 0.126 มิติเศรษฐศาสตร์มีคะแนน 0.113 และอันดับสุดท้ายคือ มิติการบริหารจัดการมีคะแนน 0.104 จากการทบทวนค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวชี้วัดดังกล่าวร่วมกับผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นที่ทางผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษในแต่ละมิติ และแผนสำหรับการพัฒนาสวนอุตสาหกรรมไปสู่ความเป็นสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในกรอบเวลาสามระยะ คือ ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ระยะกลาง (1-3 ปี) และระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) คำสำคัญ: สวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การตัดสินใจวิธีวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น ABSTRACT This paper demonstrates a development of model for measuring performance of eco industrial park in Thailand. By literature reviews and important ratings by experts using the analytical hierarchical processes, a performance measurement model consists of three levels and 38 indicators as well as theirs important weights were calculated. This measurement model for eco-industrial parks covers five dimensions involving with eco industrial park performance; they are physical aspect, economy aspect, environmental aspect, social aspect, and management aspect. From important rating, it is found that the most important aspect of being eco industrial park is the environmental aspect of which important score is 0.486. The runner-up aspects are social aspect, physical aspect, economy aspect and management aspect of which important score are 0.171, 0.126, 0.113 and 0.104 respectively. By reviewing of important score of 38 indicators with experts, conclusions on what industrial entrepreneurs should stress importance in each aspect are pointed out. Finally, development plans for transforming industrial park into eco industrial park in three timeframes; short term plan (less than 1 year), middle term plan (1-3 years), and long term plan (3 years or more) are proposed. Keyword: Eco Industrial Park, Analytical Hierarchy ProcessesDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-01-04
Issue
Section
บทความวิจัย
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ