การประเมินมูลค่าน้ำชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครพนม
Abstract
บทคัดย่อ การจัดเก็บค่าน้ำชลประทานเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรน้ำชลประทานเพื่อการเกษตรและยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรให้ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าอัตราน้ำชลประทานที่สะท้อนต้นทุนในการจัดหาสำหรับเกษตรกรผู้ใช้น้ำที่ได้รับน้ำจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีต้นทุนเฉลี่ยในการจัดหา (Average cost) 2 วิธี คือ วิธีการประเมินจากต้นทุนเฉลี่ย ณ ปีใดปีหนึ่ง และวิธีการประเมินต้นทุนเฉลี่ยตลอดอายุโครงการ และใช้ข้อมูลการจัดสรรน้ำของโครงการตั้งแต่ปี 2553 – 2557 ผลการศึกษาพบว่าการประเมินอัตราค่าน้ำชลประทานจากทั้ง 2 วิธีโดยการพิจารณาต้นทุนการผลิตออกเป็น 3 กรณี คือ 1) การประเมินมูลค่าน้ำชลประทานจากต้นทุนในการจัดหาทั้งหมด ต้นทุนค่าน้ำชลประทานมีค่าอยู่ในช่วง 12.60 - 18.08 บาทต่อลูกบาศก์เมตร 2) การประเมินมูลค่าน้ำชลประทานจากต้นทุนค่าก่อสร้างระบบส่งน้ำและค่าบริหารจัดการ ต้นทุนค่าน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 9.17 - 12.96 บาทต่อลูกบาศก์เมตร 3) การประเมินมูลค่าน้ำชลประทานจากต้นทุนเฉพาะค่าบริหารจัดการโครงการ ต้นทุนค่าน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 1.36 -1.57 บาทต่อลูกบาศก์เมตร จะเห็นได้ว่าการประเมินมูลค่าน้ำชลประทานทั้ง 3 กรณี มีมูลค่าที่ได้แตกต่างกันเนื่องจากการพิจารณาต้นทุนการผลิตแตกต่างกัน ในการศึกษานี้พิจารณาต้นทุนค่าน้ำชลประทานเฉพาะด้านของผู้จัดหาน้ำคือรัฐบาลหรือผู้ที่ลงทุนในการก่อสร้างโครงการชลประทาน อย่างไรก็ตามการกำหนดอัตราค่าน้ำชลประทานจะต้องสะท้อนทั้งด้านต้นทุนในการจัดหาน้ำและความเต็มใจที่จะจ่ายของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดค่าน้ำชลประทานเป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม ก่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำชลประทานให้มีความมั่นคงและยั่งยืน คำสำคัญ: ต้นทุนเฉลี่ย โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อัตราค่าน้ำชลประทาน ABSTRACT Water fee collection is one tool that has been accepted to enhance the allocation of irrigation water for agriculture. Also it would enhance the participation of farmers to use water with more efficiently and the highest appreciation. This study aimed to estimate the pricing for irrigation water of agricultural users that receives water from the Nam Khum Royal Irrigation project, Nakhon Phanom province. This study applied an Average Cost (AC) method and employed the dataset of water allocation during 2553 – 2557 in order to calculate water rate. The results indicated that the irrigation water valuation calculatedby the cost of production can be divided into three cases: 1) the valuation of irrigation water calculated by considering all costs provided water costs in the range of 12.60 to 18.08 baht per cubic meter 2) the valuation of irrigation water calculated by considering the operating and the maintenance costs of the irrigation system showed water costs in the ranged of 9.17 to 12.96 baht per cubic meter 3) the valuation of irrigation water calculated by considering only the maintenance cost of the irrigation systems provided water costs in the range of 1.36 to 1.57 baht per cubic meter. All the three cases were different due to different basic datasets for calculation and analysis. However, the rates of irrigation water should reflect the cost of supplying water, and a willingness and ability to pay of the water users. In this study, the irrigation water cost of the water supply side is the government whose invest in the construction of irrigation projects. It should be considered in view of the water users as farmers and their willingness to pay in order to determine the appropriate approach to irrigation water causing water management, irrigation, stability and sustainability Keyword: Average cost, Irrigation Pricing, Nam Khum Royal Irrigation ProjectDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-12-30
Issue
Section
บทความวิจัย
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ