งานศึกษาด้านจราจรเพื่อจัดทำแผนแม่บทด้านการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
Abstract
บทคัดย่อ ปริมาณการจราจรผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (สาย 7 และ สาย 9) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการเดินทาง เพื่อแก้ปัญหาการติดขัดของกระแสจราจรโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง การศึกษานี้ได้วิเคราะห์แนวทางพัฒนาระบบจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง (แบ่งแนวทางพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ) โดยใช้แบบจำลองการจราจรเสมือนจริงวิเคราะห์สภาพจราจรบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองดังกล่าว จากผลการศึกษาโดยแบบจำลองฯ พบว่าควรเพิ่มจำนวนตู้เก็บค่าผ่านทาง ตามแผนพัฒนาระยะสั้น และควรพัฒนาระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางที่มีอัตราการให้บริการดีกว่าระบบจัดเก็บแบบเงินสดเช่นระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมแบบอัตโนมัติ ตามแผนพัฒนาในระยะถัดไป คำสำคัญ: ระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง แผนแม่บท แบบจำลองจุลภาค ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบหลายช่องจราจร ABSTRACT Traffic demand using intercity motorway (no. 7 and 9) tends to be rapidly increased. This causes travel delay and traffic jam problem. To reduce this problem (especially occurred at toll plaza), 3-phased traffic studies (using microsimulation model) are conducted to develop the master plan for the improvement of toll collection system on intercity motorway. The results show that the number of toll booths should be increased on first phase. Also, electronic toll collection system, which has more service rates, should be applied in next phases. Keyword: Toll Collection System, Intercity Motorway, Traffic Micro Simulation, Multilane-free FlowsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-06-30
Issue
Section
บทความวิชาการ
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ