การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาและพฤติกรรมการจอดรถภายในห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ จังหวัดนครราชสีมา
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ที่จอดรถ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ลักษณะทางกายภาพไม่มีผลต่อความแตกต่างของระยะเวลาเฉลี่ยในการครอบครองพื้นที่จอดรถ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.020 ลักษณะทางกายภาพมีผลกับความแตกต่างของอัตราการหมุนเวียนการจอดปานกลาง โดยมีปัจจัยระยะทางกระจัดจากจุดจอดถึงประตูทางเข้า ระยะทางจากจุดรับบัตรจอดรถถึงสถานที่จอด จำนวนช่องจอด ระยะความกว้างของช่องจอด และจำนวนการเลี้ยวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่าง ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจปรับแก้ (Adjust R2) เท่ากับ 0.430 ลักษณะทางกายภาพส่งผลกับความแตกต่างของระยะเวลาการหาช่องจอดในช่วงเวลาเร่งด่วนมาก โดยมีปัจจัยระยะทางจากจุดรับบัตรจอดรถถึงสถานที่จอด ปริมาณจราจรสะสมภายในอาคารจอดรถ และช่วงระยะห่างจากจุดจอดถึงอาคารในแนวแกน x เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่าง ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจปรับแก้ เท่ากับ 0. 986 และลักษณะทางกายภาพมีผลกับความแตกต่างของระยะเวลาการหาช่องจอดในช่วงเวลาปกติ โดยมีปัจจัยระยะทางจากจุดรับบัตรจอดรถถึงสถานที่จอด ระยะทางกระจัดจากจุดจอดถึงประตูทางเข้า และปริมาณจราจรสะสมภายในอาคารจอดรถเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่าง ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจปรับแก้เท่ากับ 0.988 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรเพื่อลดการติดขัดของยวดยานและทำให้อาคารจอดรถสามารถให้บริการผู้เดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ : ที่จอดรถ อัตราการหมุนเวียน ระยะเวลาการหาช่องจอด การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ABSTRACT This research aimed to study factors influencing parking behavior at a large department store was determined by Multiple Linear Regression. The further regression analysis showed that the physical characteristic does not affect average time of possession parking space with the coefficient of determination (R2) 0.020. However the physical characteristics did affect parking turnover rate through displacement distance from the entrance to parking space, distance from the ticket booth to parking space, number of parking spaces, width of parking spaces and the number of turns, with the adjusted coefficient of determination (Adjust R2) 0.430. Thirdly, the physical characteristics affected time to find parking spaces during peak hours through distance from the parking pass to the parking lot, cumulative traffic volume inside the building and distance from parking space to the building entrance on the axis X be all influence on differential with adjusted R2 0.986 Lastly, the physical characteristics seriously affected time to find parking spaces during regular intervals through distance from the parking pass to the parking lot, displacement distance from the entrance to parking and the cumulative traffic volume inside the building be all influence on differential with adjusted R2 0.988. This research showed that physical factors affected the turnover of parking spaces and time period find parking spaces but had no effect on the average occupancy. Further study of this research be useful for the formulation plan of traffic problem to reduce traffic congestion Keywords: Parking, Turnover, Time to find parking spaces, Multiple RegressionsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-06-30
Issue
Section
บทความวิชาการ
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ