อิทธิพลจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายรัฐบาล ต่อพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
บทคัดย่อ จากกระแสสังคมที่รุนแรงต่อโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายรัฐบาลที่ส่งผลให้ปัญหาการจราจรมีความรุนแรงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่พิจารณาสาเหตุเพียงจำนวนรถยนต์สะสมที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ขณะที่พฤติกรรมการเดินทางของผู้ที่ใช้สิทธิ์ในโครงการก็เป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อสภาพการจราจร แต่ไม่นำมาพิจารณาร่วมด้วย บทความนี้ จึงให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน และอิทธิพลจากการเข้าร่วมโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายรัฐบาลต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้ที่มีรถยนต์ส่วนบุคคล การสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่สุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 386 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ ผลวิเคราะห์ พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เลือกเดินทางด้วยการขับรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นลำดับที่ 1 โดยเลือกปัจจัยสนับสนุนลำดับที่ 1 คือ ความสะดวก และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคลำดับที่ 1 คือ การจราจรติดขัด ส่วนระบบขนส่งสาธารณะที่เลือกใช้มากที่สุด คือ รถไฟฟ้า โดยปัจจัยสนับสนุนลำดับที่ 1 คือ การที่ไม่ต้องหาที่จอดรถ ผู้ใช้สิทธิ์ในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามนโยบายรัฐบาลเลือกขับรถยนต์ส่วนบุคคลน้อยกว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วมโครงการ แต่เลือกเดินทางด้วยรถตู้สาธารณะ รถโดยสารสาธารณะ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อทำงาน ท่องเที่ยว และกลับภูมิลำเนา น้อยกว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วมโครงการ คำสำคัญ: โครงการรถยนต์ใหม่คันแรก นโยบายรัฐบาล พฤติกรรมการเดินทาง รูปแบบการเดินทาง ABSTRACT Major social waves of responses to the First New Car Project under the Government’s policy resulted in high intensity traffic congestion problems. Overall, the main cause of this problem is perceived as the sharp increase of the number of registered vehicles. However, the other major factor, which is the behavior of those with the rights to participate in the project is also crucial but wasn’t taken into consideration. Therefore, this article took the interest into considering the travel behavior of the people and influences from the First New Car project on the travel behaviors of those with private cars. The information was obtained using qualitative surveys on 386 random subjects in Bangkok. The data was analyzed by making comparisons of the mean values, using t-test statistical hypothesis, analyzing one-way ANOVA and Post Hoc comparison. The results analysis found that most of the population in Bangkok prefers to drive their own cars. The reason for private cars being the #1 choice is the comfort and ease of use whereas the #1 drawback for this choice is the traffic jams. The mass transportation mode most used is the sky-train with the 1st supporting factor being its convenience in not having to find a parking space. Those eligible for the First New Car Project chooses to drive their own car less than those who are not eligible for the project. Participants in the project prefer to commute to and from work using public buses, vans and motorcycles in comparison to the other group of car owners. The main use of the vehicles for those participating in the First New Car project includes for transportation for work-related purposes, for pleasure travels and for going back to their hometowns. Keyword: First car policy, Government policy, Travel behavior, Transportation modeDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-01-29
Issue
Section
บทความวิชาการ
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ