ผลของความเข้มข้นของสารละลายเหล็ก (III) อีดีทีเอต่อการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ

Authors

  • บุปผา เจียวพ่วง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ถนนรังสิต - นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
  • สุทธดา จงโปร่งกลาง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ถนนรังสิต - นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
  • สมมาส แก้วล้วน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ถนนรังสิต - นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
  • สิทธินันท์ ท่อแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ถนนรังสิต - นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120

Abstract

ABSTRACT The aims of this research were to study the effect of Fe (III) - EDTA concentration on the removal of hydrogen sulfide in biogas. In this experimental, the concentration of Fe (III) used was in the range of 0.10 - 0.35 mol/L, and the mole ratio of iron (III) and EDTA was 1 : 1.2. Also, the inlet hydrogen sulfide concentration in biogas was in the range of 3,700 - 4,200 mg/m3. The result of this experimental was found that the removal of hydrogen sulfide in biogas was increased with increasing the concentration of Fe(III) - EDTA. After hydrogen sulfide adsorption reaction, Fe (III) solution was regenerated by using the air bubbling flow rate was 500 ml/min for 120 min. It was observed that the used-Fe (III) solution was as effective as the new prepared-Fe (III) solution. In addition, the volume flow ratio between biogas and air should be set at 80:150 in order to obtain the stable efficiency of the hydrogen sulfide removal while bubbling air and biogas instantaneously. Keyword: Hydrogen Sulfide Removal, Fe (III) - EDTA, Biogasบทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายเหล็ก (III)-อีดีทีเอต่อการกำจัดก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ สารละลายเหล็ก (III) อีดีทีเอที่ใช้มีความเข้มข้นของเหล็ก (III) ในช่วง 0.10 - 0.35 โมลต่อลิตร อัตราส่วนโดยโมลของเหล็กต่ออีดีทีเอเป็น 1 ต่อ 1.2 และความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพอยู่ในช่วง 3,700 - 4,200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลการทดลองพบว่าการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารละลายเหล็ก (III) เพิ่มขึ้น หลังทำปฏิกิริยาการดูดซึมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์สารละลายเหล็ก (III) ถูกฟื้นฟูสภาพโดยการพ่นอากาศที่อัตราการไหล 500 มิลลิลิตรต่อนาที เป็นเวลา 120 นาที จะเห็นได้ว่าสารละลายเหล็ก (III) หลังการใช้งานมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสารละลายเหล็ก (III) ที่เตรียมใหม่ นอกจากนี้การทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์มีค่าคงที่ สามารถทำได้โดยการพ่นก๊าซชีวภาพพร้อมกับการพ่นอากาศในอัตราส่วนระหว่างอัตราการไหลของก๊าซชีวภาพต่ออัตราการไหลของอากาศเป็น 80 ต่อ 150 คำสำคัญ: การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ เหล็ก (III) อีดีทีเอ ก๊าซชีวภาพ  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-12-29