สมดุลและจลนศาสตร์การดูดซับไอออนเงินโดยไคโตซานผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์เรซิน

Authors

  • อุษณีย์ รักษ์ไชยวรรณ ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฏร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
  • ยุพดี กูลรัตน์กิติวงศ์ ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฏร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
  • โกวิทย์ ปิยะมังคลา ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฏร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

Abstract

ABSTRACT Blend chitosan-polyvinyl alcohol resin as adsorbent for adsorption of silver ion was studied. Batch experiments were carried out in the dosage of adsorbent between 0.1 - 0.5 g and initial concentration of silver ion in range 20 - 100 mg/L. The experimental result showed that an increasing dosage of adsorbent and initial concentration of silver ion increased percent adsorption and adsorption capacity. The adsorption capacity of blend chitosan-polyvinyl alcohol resin occurred 18.5 mg/g. The silver ion could be explained by Freundlich adsorption isotherm. The pseudo-first order and pseudo-second order were employed to evaluate the kinetic model. It was found that the pseudo-second order model was fit for describing the adsorption behavior.  The mechanisms of the adsorption occurred in 3 steps. The rate limiting step for mechanism of adsorption was film diffusion. Keyword: Adsorption, Silver ion, Chitosanบทคัดย่อ งานวิจัยนี้ศึกษาการดูดซับไอออนเงินโดยใช้ไคโตซานผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์เรซินเป็นตัวดูดซับ ทำการทดลองแบบแบตซ์ ศึกษาผลของปริมาณตัวดูดซับ 0.1 - 0.5 กรัม และความเข้มข้นเริ่มต้นของไอออนเงิน    20 -100 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าการเพิ่มปริมาณตัวดูดซับและความเข้มข้นเริ่มต้นของไอออนเงิน มีผลทำให้ร้อยละการดูดซับและความสามารถในการดูดซับไอออนเงินเพิ่มสูงขึ้น ความสามารถในการดูดซับไอออนเงินของไคโตซานผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์เรซินมีค่าเท่ากับ 18.5 มิลลิกรัมต่อกรัม ไอโซเทอมของการดูดซับสอดคล้องกับสมการฟรุนดิช แบบจำลองทางจลนศาสตร์มีการอธิบายโดยใช้สมการ Pseudo-first order และ Pseudo-second order พบว่าการดูดซับไอออนเงินสอดคล้องกับ Pseudo-second order กลไกการดูดซับเกิดขึ้น 3 ขั้นตอน โดยการแพร่ที่ผิวเป็นขั้นตอนการจำกัดอัตราเร็วของการดูดซับ คำสำคัญ: การดูดซับ ไอออนเงิน ไคโตซาน  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-12-29