การศึกษาความเป็นไปได้ในการลดจำนวนเที่ยวการเดินทาง ของยานพาหนะส่วนตัวในช่วงเวลาเร่งด่วนโดยใช้สถานที่ส่งแล้วจร

Authors

  • เกศฎาภรณ์ ชัยวงษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศิรดล ศิริธร สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Abstract

ABSTRACT This research investigated the feasibility of peak-hour vehicle-trips reduction utilizing Kiss and Ride facilities. The study focused on trips to downtown Nakhon Ratchasima which consists of commercial and business areas. The Kiss and Ride aimed to reduce the number of trips to two schools: Muang Nakhon Ratchasima School and Anuban Nakhon Ratchasima School. The analysis involved parents' behavior in giving a ride to children to and back from school. The survey was conducted using two-part questionnaire asking the parents to select preferred transportation method, existing and future school bus system. Binary Logit Model was the main tool for prediction of the probability that the parents choosing the Kiss and Ride facility. The result of the study showed that factors which affected the choice of using Kiss and Ride were extra travel distance resulted from using the facility, travel time from home to the nearest Kiss and Ride, Parent’s age and Parent’s occupation. The accuracy of the model was 73.30 percent. The result implied that possibly 65.24 percent of parents would choose to use Kiss and Ride if the facility is implemented. Keyword: Kiss and Ride Facility Implementation, Mode Choice, Binary Logit Model, Nakhonratchasima Province, Academy บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดจำนวนเที่ยวการเดินทางของยานพาหนะส่วนตัวในช่วงเวลาเร่งด่วนโดยใช้สถานที่ส่งแล้วจรหรือ Kiss and Ride ในการเดินทางมายังพื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นแหล่งพาณิชยกรรมในเขตตัวเมืองชั้นในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาลักษณะการเดินทางที่มีจุดหมายปลายทางเป็นสถานศึกษา 2 แห่ง ประกอบด้วยโรงเรียนเมืองนครราชสีมาและโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โดยพิจารณาพฤติกรรมการรับ/ส่งบุตรหลานของผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งการสำรวจข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ใช้แบบสอบถามแบ่งเป็นจำนวน 2 ส่วนคือ การตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางในปัจจุบันเปรียบเทียบกับอนาคตโดยสร้างแบบจำลองประเภทโลจิตทวินามแบบ Binary (Binary Logit Model) เพื่อทำนายความน่าจะเป็นของผู้ปกครองนักเรียนที่จะให้บุตรหลานเปลี่ยนมาเลือกใช้สถานที่ส่งแล้วจรในการเดินทาง ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางโดยใช้สถานที่ส่งแล้วจรของกลุ่มผู้ปกครองที่ใช้รถส่วนบุคคลในการเดินทางมารับ/ส่งบุตรหลาน ได้แก่ ระยะทางในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นหากเลือกใช้สถานที่ส่งแล้วจร, ระยะเวลาเดินทางจากบ้านไปสถานที่ส่งแล้วจร, อายุและอาชีพผู้ปกครอง ซึ่งมีความถูกต้องของแบบจำลองร้อยละ 73.30 โดยผลจากการนำแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาประยุกต์ใช้พบว่า หากมีการจัดทำสถานที่ส่งแล้วจรตามที่ได้นำเสนอจะมีผู้ปกครองมาเลือกใช้บริการสถานที่ส่งแล้วจรเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางถึงร้อยละ 65.24 คำสำคัญ: สถานที่ส่งแล้วจร, การเลือกรูปแบบการเดินทาง, แบบจำลองประเภทโลจิตทวินาม, นครราชสีมา, สถานศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2013-07-05