การทดสอบสมรรถนะเตาชีวมวลขนาด 20 kW

Authors

  • สมมาส แก้วล้วน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากชีวมวลสู่ชุมชน ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
  • ดำรงศักดิ์ จันโทสี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากชีวมวลสู่ชุมชน ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
  • สุรชัย จันทร์ศรี โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากชีวมวลสู่ชุมชน ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
  • เวคิน ปิยรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากชีวมวลสู่ชุมชน ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120

Abstract

ABSTRACT An investigation on a 20 kW power stove was studied. In the study, efficiency of a biomass gas stove using eucalyptus wood as fuel was investigated by comparing with two types of high pressure liquefied petroleum gas stoves, a low (KB-5) and a high efficiency (SG5). The biomass gas stove consisted of main body in double wall (reaction chamber and warming air chamber), ash tray and biomass fuel filler. Moreover, two valves were installed under the bottom of stove. The first one was used to control air flowing into reaction chamber. The second one was used to control air flowing into warming air chamber. The efficiency of biomass gas stove was tested by boiling 15 kg of water with 10 kg of eucalyptus wood in about 100 minutes. The result indicated that the biomass gas stove had lower efficiency comparing with the KB-5 and the SG5 of high pressure liquefied petroleum gas stove with approximately 29% and 41% respectively. However, high pressure liquefied petroleum gas stoves replacement with biomass gas stove could be reduced energy cost by 67% and 60% respectively. Therefore, it was suitable to use for cooking in households or in small restaurants. Moreover, the biomass gas stove was considering environmental friendly.   Keyword: Biomass, Biomass gas stove, LPG Gas Stoveบทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบเปรียบเทียบสมรรถนะของเตาชีวมวลขนาด 20 kW ที่ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นเชื้อเพลิงกับเตาแก๊สหุงต้มชนิดหัวเร่งประสิทธิภาพต่ำ (KB-5)และประสิทธิภาพสูง (SG5) ที่ใช้แก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิง เตาชีวมวลที่ใช้ทดสอบสมรรถนะประกอบด้วยตัวเตาที่มีผนัง 2 ชั้น (ห้องปฏิกิริยาและช่องอุ่นอากาศ) ห้องเผาไหม้แก๊สชีวมวล ช่องปากเตาสำหรับป้อนชีวมวล ช่องใต้เตาสำหรับถ่ายขี้เถ้าออก นอกจากนี้ยังมีวาล์วควบคุมการป้อนอากาศส่วนที่ 1 เข้าสู่ห้องปฏิกิริยา และวาล์วควบคุมการป้อนอากาศส่วนที่ 2 เข้าสู่ช่องอุ่นอากาศด้วย จากการทดสอบต้มระเหยน้ำ 15 kg ในเวลา 100 นาที โดยใช้เตาชีวมวลและเตาแก๊สหุงต้มชนิดหัวเร่งประสิทธิภาพต่ำ (KB-5) และประสิทธิภาพสูง (SG5) ตามลำดับ ผลการทดสอบพบว่า เตาชีวมวลมีประสิทธิภาพทางความร้อนต่ำกว่าเตาแก๊สหุงต้มชนิดหัวเร่งประสิทธิภาพต่ำ (KB-5) และต่ำกว่าเตาหุงต้มชนิดหัวเร่งประสิทธิภาพสูง (SG5) ประมาณ 29% และ 41% ตามลำดับ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงต่ำกว่าเตาแก๊สหุงต้มชนิดหัวเร่งประสิทธิภาพต่ำ (KB-5) และต่ำกว่าเตาแก๊สหุงต้มชนิดหัวเร่งประสิทธิภาพสูง (SG5) ประมาณ 67% และ 60% ตามลำดับ เมื่อคิดราคาแก๊ส LPG ที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม หากราคาแก๊ส LPG ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 30 บาทต่อกิโลกรัมจะส่งผลให้การใช้เตาชีวมวลมีค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงต่ำกว่าการใช้เตาแก๊สหุงต้มทั้งสองแบบ 80% และ 76% ตามลำดับ ดังนั้นการนำเตาชีวมวลมาใช้แทนเตาแก๊สหุงต้มจึงสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนได้อย่างมาก จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการนำเตาชีวมวลมาใช้เป็นเตาความร้อนสำหรับการประกอบอาหารในครัวเรือน หรือประกอบกิจการร้านอาหารขนาดเล็ก นอกจากนั้นการใช้เตาชีวมวลยังมีส่วนช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เตาแก๊สหุงต้มที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย   คำสำคัญ: ชีวมวล เตาชีวมวล เตาแก๊สหุงต้ม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2013-07-05